กัญชา สายเขียวไม่รักษ์โลก...ปล่อยสารพิษจนน่าตกใจ

กัญชา กลายมาเป็น กระแสเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีซื้อขายกันอย่างถูกกฎหมายมากขึ้นและสามารถครอบครองได้ในปริมาณที่กำหนด เพื่อสันทนาการและการช่วยบำบัดโรคบางประเภท ทำให้มีการขยายตัวของตลาดการซื้อขายกัญชาที่สูงขึ้น

แต่ก็ยังมีกัญชาที่ถูกลักลอบปลูกอย่างผิดกฎหมายในหลายๆ ประเทศ อย่างเช่นที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ที่ปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมเพียบ ทั้งยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา ปุ๋ยเคมี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ รวมถึงสัตว์ป่าหายากอีกด้วย

กัญชา สายเขียวไม่รักษ์โลก...ปล่อยสารพิษจนน่าตกใจ

กัญชา สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม โดย มูราด กาเบรียล (Mourad Gabriel)

มูราด กาเบรียล (Mourad Gabriel) นักนิเวศวิทยา ซึ่งทำงานกับศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาครบวงจร (Integral Ecology Research Center) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ เผยถึงเรื่องดังกล่าวแก่รอยเตอร์ ว่าเป็นปัญหาร้ายแรงกว่าที่นักวิจัยและทางการคาดคิดไว้

กาเบรียล ประมาณว่าพื้นที่ปลูกกัญชาอย่างผิดกฎหมายในที่ดินส่วนกลางของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพบการปลูกกัญชามากที่สุดนั้น มีปริมาณปุ๋ยเม็ดแข็งประมาณ 731,000 ปอนด์ (331,576 กิโลกรัม) ปุ๋ยแบบน้ำ 491,000 ออนซ์ (14,500 ลิตร) และยาฆ่าแมลงที่เป็นพิษ 200,000 ออนซ์ (6,000 ลิตร)

สารพิษปริมาณดังกล่าวมากพอจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่เข้าไปตรวจค้นพื้นที่เพาะปลูก และสัมผัสสารเคมีเหล่านี้ ระหว่างบุกจู่โจมและค้นหาฟาร์มปลูกกัญชาผิดกฎหมาย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 5 คนถูกส่งโรงพยาบาล เพราะมีอาการผื่นคันที่ผิวหนังและหายใจลำบาก

กาเบรียล ผู้มีประสบการณ์ในการลงไปในพื้นที่ลักษณะนี้กว่า 100 แห่ง ยังพบด้วยว่าของเสียเหล่านี้ไม่ได้ถูกจัดการอย่างเหมาะสม โดยเขาได้บอกว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ลงมากวาดล้างไม่ได้ทำงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทำให้หลายพื้นที่ยังคงมีปริมาณของเสียหลงเหลือเกือบครึ่งของปริมาณของเสียเดิมที่มี และมลพิษจากฟาร์มปลูกกัญชาอย่างผิดกฎหมายนี้ยังอยู่ในระดับเตือนอันตราย

นอกจากนี้ผลจากหลายๆ การศึกษาหลายยังระบุว่า ของเสียจากการปลูกกัญชานั้นเป็นอันตรายต่อสัตว์หายากหลายชนิด อย่างการศึกษาโดยทีมของกาเบรียลพบว่า 10% ของตัวฟิชเชอร์ (fishers) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหน้าตาคล้ายพังพอนที่พบในแคลิฟอร์เนีย นั้นตายด้วยยาเบื่อพวกหนู ซึ่งเป็นสารเคมีมักจะถูกกักตุนไว้ที่ฟาร์มกัญชา เพื่อควบคุมประชากรหนู

สารเคมีเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วทั้งฟาร์มเพื่อป้องกันศัตรูพืชที่จะเข้ามาทำลายกัญชา ทว่าท้ายสุดกลับกลายเป็นพิษต่อสัตว์อื่นๆ อย่างไม่ตั้งใจ ฟิซเชอร์บางตัวมีสารพิษในระบบทางเดินอาหาร มากกว่า 6 ชนิด ซึ่งบ่งบอกถึงระดับการปนเปื้อนที่ค่อนข้างน่ากังวล

สารพิษเหล่านี้ยังมีผลต่อสัตว์อื่นๆ ด้วยเช่นกัน โดย บิล ซีลินสกี (Bill Zielinski) นักวิจัย ซึ่งทำงานทีสถานีวิจัยแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ (Pacific Southwest Research Station) ของกรมป่าไม้สหรัฐฯ (Forest Service) กล่าวว่า ตัวฟิชเชอร์นั้นเป็นเหมือนตัวชี้วัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ซีลินสกีบอกนิวส์วีคว่า เขากังวลว่าความหนาแน่นของพื้นที่ปลูกในที่ดินสาธารณะในแคลิฟอร์เนียนั้น อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มสิ่งมีชีวิต รวมถึงส่งผลต่อดินและสิ่งมีชีวิตในน้ำตามธรรมชาติด้วย และงานวิจัยก่อนหน้ายังชี้นำว่า สารพิษจากฟาร์มเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่คร่านกฮูกในแคลิฟอร์เนียที่กินสัตว์ฟันแทะซึ่งตายจากการได้รับสารพิษ

นอกจากการใช้สารเคมีเกษตรที่เป็นอันตรายแล้ว การเตรียมการเพาะปลูกกัญชายังต้องการน้ำมาก ซึ่งมากกว่าน้ำที่ใช้ในการปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์ถึง 2 เท่า และจากการศึกษาในปี 2015 ที่เผยแพร่ในวารสารพีเอลโอเอส วัน (PLOS One) ระบุว่า พื้นที่ปลูกกัญชาอย่างผิดกฎหมาย ในแคลิฟอร์เนียตะวันตกเฉียงใต้นั้นได้ผันน้ำถึง 1 ใน 4 ของน้ำที่ไหลในพื้นที่เข้าไปใน ลุ่มน้ำของพวกเขาเอง รายงานยังระบุว่า พบปริมาณยาฆ่าแมลง ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า สารฆ่าเชื้อรา ที่ถูกชะออกมาจากพื้นที่เพาะปลูกกัญชาในปริมาณสูงด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก mgronline

แบตเตอรี่ลิเธียม ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่

Previous article

เนสท์เล่ส่งแคมเปญ “เล็กน้อยเปลี่ยนโลกได้” สร้างแรงบันดาลใจชวนคนไทยร่วมมือดูแลโลกใบนี้อย่างยั่งยืน

Next article

You may also like

More in Bitesize