เพื่อให้ผู้คนบนโลกตระหนักถึงการกระทำต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้มี “วันคุ้มครองโลก” ขึ้นมา ตรงกับทุกวันที่ 22 เมษายน

22 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันคุ้มครองโลก” (Earth Day)

ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ United Nations Environment Program (UNEP) เพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงการกระทำต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้เป็นคนแรกคือ เกย์ลอร์ด เนลสัน สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา

โดยในปี พ.ศ. 2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้เห็นด้วย

และได้ออกทัวร์ทั่วประเทศเป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม “วันคุ้มครองโลก”

วันคุ้มครองโลก

ต่อมา เนลสัน ได้ผลักดันให้มีการชุมนุม แสดงความคิดเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชนทั่วประเทศ ทำให้เกิดเป็นกระแสตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปทั่วสหรัฐอเมริกา จากนั้นในวันที่ 22 เมษายน ประชาชนชาวอเมริกันกว่า 20 ล้านคน ได้พร้อมใจกันชุมนุม เพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก

ซึ่งผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น จนในที่สุดกำหนดให้วันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น “วัน Earth Day ”

วันคุ้มครองโลกในไทย

ขณะที่ในประเทศไทย ได้มีการจัดให้มีการรณรงค์วันคุ้มครองโลกขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2533 ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจากที่ นายสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กระทำอัตวินิบาตกรรม อาจารย์และนักศึกษารวม 16 สถาบันได้จัดงานวันคุ้มครองโลกขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของป่า และตระหนักถึงวิกฤตการทำลายสัตว์ป่าและป่าไม้ของประเทศไทย

กิจกรรมน่าสนใจในวันคุ้มครองโลก 

  • ปลูกต้นไม้ รวมถึงการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ทั้งในเขตชุมชน ป่า และภูเขา ให้คงอยู่เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
  • เรียนรู้เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ ให้กลับมีค่าและมีประโยชน์ เช่น การประดิษฐ์ของเล่นจากกล่องกระดาษ
  • คัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือน เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เป็นการลดปริมาณขยะ และลดภาวะโลกร้อน
  • ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง เพื่อลดการเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เช่น ห้ามทิ้งขยะในแม่น้ำลำคลอง ห้ามทิ้งขยะในทะเล และห้ามทิ้งขยะในเขตป่า เป็นต้น
  • ใช้ภาชนะใส่อาหารที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติแทนพลาสติกและกล่องโฟม
  • ลดการใช้พลังงาน เช่น ปิดไฟ ปิดน้ำเมื่อไม่ใช้ ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์หากเดินขึ้น 1-2 ชั้น ปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์ และนั่งรถประจำทางสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อประหยัดพลังงานน้ำมัน เป็นต้น

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก pptvhd36

ดูนโยบายการปัญหาสิ่งแวดล้อม PM 2.5 ของแต่ละพรรค

Previous article

NIKE FORWARD นวัตกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Next article

You may also like

More in Bitesize