วันที่ 23 พฤษภาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น ‘วันเต่าโลก’ หรือ World Turtle Day โดยองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล American Tortoise Rescue ในสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เป็นโอกาสในการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับเต่า รวมทั้งปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์เต่า เนื่องจากปริมาณประชากรเต่าที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

แม้เต่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน แต่จากรายงานสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก ปี 2560 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กลับพบว่า สถิติการลดลงของเต่าทะเลยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ มีปัญหาการลักลอบเก็บไข่เต่า

อีกทั้งพื้นที่วางไข่และหากินของเต่าทะเลที่ลดลงจากการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่ง ทำให้สถิติการวางไข่ของเต่าทะเลลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5 ส่วน ภายในระยะเวลา 60 ปี

23 พ.ค. วันเต๋าโลก อนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล

ทั้งนี้ ในรายงานยังระบุด้วยว่า ในประเทศไทยมีการแพร่กระจายของเต่าทะเลจำนวน 5 ชนิด แต่กลับพบการวางไข่ของเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด ได้แก่ เต่ามะเฟือง, เต่าหญ้า, เต่าตนุ และเต่ากระ โดยปัจจุบันเหลือแหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญเพียง 10 แห่ง

โดยแหล่งวางไข่ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่บริเวณหมู่เกาะคราม รองลงมาเป็นหมู่เกาะสิมิลัน ปัจจุบันเต่าทะเลได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการห้ามล่า ห้ามค้า ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ โดยมีผลครอบคลุมไปถึงไข่ ซาก ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆ ของสัตว์เหล่านั้นด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก thestandard

ฟาร์มแมลงใหญ่สุดในโลกที่ฝรั่งเศส ผลิตโปรตีนทดแทนเนื้อ รวมถึงทำปุ๋ย ลดการปล่อยคาร์บอน

Previous article

การจัดงานแบบ Eco เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องทำอย่างไร? No More Plastic!

Next article

You may also like

More in Bitesize