blue Carbon

“Blue Carbon” ถือเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนประสิทธิภาพสูงที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งพื้นที่ Blue Carbon ประกอบด้วยป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง และแหล่งหญ้าทะเล โดยพื้นที่เหล่านี้มีศักยภาพจับคาร์บอนในอากาศ อย่าง ป่าชายเลนสามารถดูดซับคาร์บอนได้ดีกว่าป่าปกติถึง 4 เท่า

ข้อมูลจาก Blue Carbon Society เปิดเผยว่าการที่พื้นที่ป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเล และป่าพรุน้ำเค็มดูดซับคาร์บอนได้ดีกว่า เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้สามารถดึงคาร์บอนลงไปกักเก็บไว้ในใต้ดินได้ถึง 50 – 99%

บางจาก” วิจัยสู่คาร์บอนเครดิต

โดยเฉพาะ “แหล่งหญ้าทะเล” ระบบนิเวศที่ดูดซับคาร์บอนได้ดีที่สุด มีพื้นที่น้อยกว่า 0.2 %ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่กลับกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ถึงปีละ 10 % รวมถึงยังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของพะยูน และเต่าตนุ รวมทั้งเป็นแหล่งอนุบาล และที่หลบภัยของสัตว์น้ำอีกหลายชนิด

จากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าเมื่อปี 2015 ประเทศไทยมีพื้นที่หญ้าทะเล 256 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2012 ที่ตอนนั้นมีพื้นที่เพียง 190 ตารางกิโลเมตร

“Blue Carbon”สู่คาร์บอนเครดิต บางจากศึกษา“หญ้าทะเล”ลดโลกร้อน

“กลุ่มบริษัทบางจาก” มุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050 ด้วยแผน “BCP NET” และล่าสุด ได้ลงนามความร่วมมือพัฒนาพื้นที่และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่ Low Carbon Destination หมู่เกาะหมาก อ.เกาะกูด จ.ตราด ร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านอ่าวนิด โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมเป็นพยาน เพื่อดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องด้วยโมเดล Bangchak WOW

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์  กล่าวว่าจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 ในปีที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกมีการกล่าวถึงหญ้าทะเลมากขึ้น เพราะหญ้าทะเล ถือเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่จัดเป็นระบบนิเวศ Blue Carbon

เพิ่มพื้นที่ที่กักเก็บคาร์บอนด้วย หญ้าทะเล

ข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International. Union for Conservation of. Nature: IUCN) ปี 2021 ระบุว่าหญ้าทะเลสามารถดูดซับกักเก็บมากกว่าป่าบนบก 7-10 เท่า ส่งผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างให้ความสนใจเรื่องหญ้าทะเลมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของภาคเอกชน ที่จะทำเรื่องของหญ้าทะเลเป็นเสมือน CSR ของบริษัท ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว

การจะดูแลและรักษาให้แหล่งหญ้าทะเล กลายเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนได้จริง เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้ รวมถึงต้องอนุรักษ์เข้าไปดูแลฟื้นฟูธรรมชาติ ไม่ให้พื้นที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรม หรือลดน้อยลง

“Blue Carbon”สู่คาร์บอนเครดิต บางจากศึกษา“หญ้าทะเล”ลดโลกร้อน

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวต่อว่าประเทศไทยมีพื้นที่หญ้าทะเลทั้งภาคใต้ และภาคตะวันออก ซึ่งในบริเวณเกาะหมาก และเกาะกระดาด จังหวัดตราด ถือเป็นแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังขนาดใหญ่ โดยในการศึกษาของคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทบางจาก จะมีการสำรวจโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งการแปลข้อมูลดาวเทียมและการใช้โดรนรูปแบบต่างๆ สำรวจทางอากาศ พร้อมกับการสำรวจภาคสนามและการดำน้ำประเมินศักยภาพของพื้นที่

สำหรับพื้นที่ในการสำรวจแหล่งหญ้าทะเล จะเป็นบริเวณอ่าวกระเบื้อง เกาะหมาก 10 ไร่ และฝั่งตะวันตกของเกาะกระดาด 12.3 ไร่ และมีการนำตัวอย่างดิน ไปศึกษาวิจัยในห้องวิจัยของมหาวิทยาลัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ

“Blue Carbon”สู่คาร์บอนเครดิต บางจากศึกษา“หญ้าทะเล”ลดโลกร้อน

“การจะศึกษาการใช้คาร์บอนเครดิจจากแหล่งหญ้าทะเล ต้องมีการ สำรวจชั้นดิน ในความลึกแต่ละชั้นร่วมด้วย เพราะการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไม่ได้กักเก็บอยู่ในใบของหญ้าทะเล แต่กว่า 90% จะอยู่ในดิน ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลแล้วจะต้องทำการศึกษาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์” ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว

“เกาะหมาก” แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ

“เกาะหมาก” เป็นจุดแรกของประเทศที่มีการนำคำว่า Low Carbon Destination หรือ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ มาใช้ ดังนั้น พื้นที่ดังกล่าวจึงเหมาะสมที่จะเป็น Net Zero หรือ Carbon Negative ในอนาคต จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้เกิดความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาครัฐหลายส่วนในการช่วยลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก กับกักเก็บคาร์บอน

พี่อึ่ง นายนพดล สุทธิธนกูล ประธานกลุ่มชมรมอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก กล่าวเสริมว่าบริเวณเกาะหมาก นอกจากลด ละ เลิกการทำลายหญ้าทะเลแล้ว จะต้องร่วมดูแลปะการังด้วย เนื่องจากเกาะหมาก นับเป็นอันดับ 3 ของประเทศที่มีแนวปะการังที่ใหญ่ และที่ผ่านมาปะการังเสียหายด้วยกระแสน้ำอุ่น หรือภาวะโลกร้อนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว และการทำกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวไปเหยียบหัก เอามือที่อาจจะมีครีมกักแดดไปจับปะการังขณะดำน้ำ หรือ สมอเรือไปถูกปะการัง

“Blue Carbon”สู่คาร์บอนเครดิต บางจากศึกษา“หญ้าทะเล”ลดโลกร้อน

ปะการัง เป็นสัตว์ทะเลที่มีผลต่อระบบนิเวศอย่างมาก โดยทางภาคตะวันออก จะมีปะการังเขากวางสีฟ้า สีเหลือง และสีน้ำตาล โดยปะการังนั้นจะขยายพัยธุ์ด้วยไข่ ซึ่งปะการังจะขยายพันธุ์เหมือนพืช เหมือนการปักชำ และดูดซับคาร์บอนเหมือนหญ้าทะเล แต่การปลูกปะการังไม่เหมือนปลูกป่า ปลูกป่าง่ายกว่ามาก ดังนั้น หากจะฟื้นฟูหญ้าทะเล ก็ต้องฟื้นฟูปะการังร่วมด้วย เพื่อช่วยลดคาร์บอน ช่วยโลกพี่อึ่ง กล่าว

Bangchak WOW ลดคาร์บอน ช่วยโลก

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทบางจาก กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการพัฒนาพื้นที่เกาะหมากสู่เป้าหมายการเป็น Low Carbon Destination ซึ่งกลุ่มบางจากจะสนับสนุน ทั้งการศึกษาวิจัย และกิจกรรมอื่นๆ โดยเน้นการใส่ใจดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังจากชุมชนท้องถิ่น อันนำไปสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบของประเทศในการร่วมบรรเทาภาวะวิกฤตของโลกด้านสภาพภูมิอากาศ

“Blue Carbon”สู่คาร์บอนเครดิต บางจากศึกษา“หญ้าทะเล”ลดโลกร้อน

การศึกษา Blue Carbon จากการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ของแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังภาคตะวันออก ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งการดูดซับคาร์บอนด้วยวิถีธรรมชาติจากหญ้าทะเล เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ กิจกรรมที่กลุ่มบริษัทบางจากได้ดำเนินการ เพื่อลดคาร์บอน และกักเก็บคาร์บอน รวมถึงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) สู่พลังงานสะอาด

ทำความรู้จัก “หญ้าทะเล” พืชใต้น้ำ

 “หญ้าทะเล” (Seagrass) เป็นพืชมีดอก หรือพืชทะเล ที่มีโครงสร้างคล้ายพืชบก โดยมีใบที่มีคลอโรฟิลล์ ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง แต่จะมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างไปจากพืชดอกทั่วๆ ไป คือ หญ้าทะเลเกือบทุกชนิดมีวงจรชีวิตสมบูรณ์ใต้น้ำ ทั้งการสืบพันธุ์ ออกดอก ผล เมล็ด หรือเรียกได้ว่าเจริญเติบโตใต้ท้องทะเล ซึ่งหญ้าทะเลสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้ในทะเล

Blue Carbon สู่คาร์บอนเครดิต บางจากศึกษา“หญ้าทะเล”ลดโลกร้อน

อย่างไรก็ตาม หญ้าทะเลมี ราก ใบ และลำต้นใต้ดินเหมือนกับหญ้าทั่วๆ ไป ซึ่งหญ้าทะเลจะมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเล ด้วยการเป็นผู้ผลิตเบื้องต้นในระบบนิเวศทางทะเล และการเป็นผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพทำให้ แหล่งหญ้าทะเล เป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศของสิ่งมีชีวิตในทะเล อย่าง พะยูน และ เต่าทะเล กลุ่มสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อีกทั้ง หญ้าทะเลยังเป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนร่วมด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก bluecarbonsociety

Sea Life Bangkok Ocean World ศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมของคนเมือง

Previous article

รู้จัก “เชื้อเพลิงฟอสซิล” ต้นการสร้างมลภาวะทางอากาศ นำไปสู่ “ภาวะโลกร้อน”

Next article

You may also like

More in Bitesize