ทำความรู้จัก Carbon Footprint

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เพราะผลกระทบที่ชัดเจนอย่างอากาศที่ร้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เราต่างรู้กันดีว่าสาเหตุหลักก็มาจากมนุษย์เรานี่เอง หากยังเพิกเฉยและปล่อยให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปเรื่อย ๆ คนที่จะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือมนุษย์นั่นเอง โดยเฉพาะเรื่องของภาวะเรือนกระจก จนมีหนึ่งคำที่อาจจะเคยได้ยินกันบ่อยครั้ง “Carnbon Footprint” เราจะมาทำความรู้จักคำนี้ไปพร้อมกันค่ะ

สภาวะโลกร้อน

สภาวะโลกร้อน (Global warming) เป็นปรากฏการณ์การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำ ในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการตรวจจวัดและสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เกี่ยวกับยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่าในช่วง 20 ปีให้หลัง อุณหภูมิบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.2- 0.6 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนรวมมีแนวโน้มลดลง และมีโอกาสที่จะเกิดสภาวะความรุนแรงของสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น

ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นอย่างไร

ปรากฏการณ์เรือนกระจก เป็นปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4)
ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และ CFCs ในบรรยากาศ ทำ ให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นและเกิดการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกัน ทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น การถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้จะเกิดต่อ ๆ กันไปในบรรยากาศ ทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นหรือการเคลื่อนไหวตลอด จึงเป็นสาเหตุทำให้เรารู้สึกร้อน

carbon-footprint

Carbon Footprint คืออะไร

Carbon Footprint คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ โดยตลอด
วัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์บริการและองค์กร แสดงผลในเชิงปริมาณ คือ เทียบเท่ากับศักยภาพการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นกิโลกรัม (kg CO2 equivalent) หรือ ตัน
(tons CO2 equivalent)

ประเภทของ Carbon Footprint

เราสามารถแบ่งประเภทของ Carbon Footprint ออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. Carbon Footprint ของมนุษย์

เป็น Carbon Footprint ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การใช้ชีวิตที่บ้านและ
ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการทานอาหาร ทั้งนี้กิจกรรมต่าง ๆ มีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น โดยค่าเฉลี่ยของประเทศไทยในปัจจุบันมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 5.3 – 5.5 ตันคาร์บอน/คน/ปี

  1. Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์

เป็นการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักร ชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน จนถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของน้ำหนักคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (CO2eq)

  1. Carbon Footprint ขององค์กร

เป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยโดยตรงจากกิจกรรมขององค์กร หรือการปล่อยทางอ้อม เช่น การใช้ไฟฟ้าในองค์กร การปล่อยจากกระบวนการในสาย Supply Chain โดยจะมีการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้ได้ Carbon Footprint ขององค์กร ในรูปของน้ำ หนักคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq)

ประโยชน์ของ Carbon Footprint

ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต่างให้ความสำคัญกับการลดโลกร้อน จึงนำ Carbon Footprint และการติดฉลากคาร์บอนมาเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งประโยชน์ของ Carbon Footprint มีดังนี้

  1. การวิเคราะห์ Carbon Footprint ทำให้ทราบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละขั้นตอน

ตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งทำให้สามารถจำแนกประเด็นปัญหาหลัก ลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอีกด้วย

  1. การได้รับฉลากคาร์บอน เป็นการแสดงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรข ต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

และสังคม

  1. เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องมาจากชีวิตประจำวัน และทราบแนว

ทางการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอน เพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อน

สรุปแล้ว Carbon Footprint จึงเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้ภาคการผลิต การบริการ และองค์กร เกิดความตื่นตัวในการดำเนินการลดโลกร้อน ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้อุปโภคและผู้บริโภค รวมทั้งสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อนอีกด้วย

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

อาดิดาส เผยโฉม รองเท้าวิ่ง 3 ดีไซน์ใหม่ นวัตกรรมรักษ์โลก

Previous article

สภาวะโลกร้อน ไม่ได้มีแต่จะร้อนขึ้น แต่จะทำให้หนาวขึ้นด้วย

Next article

You may also like

More in Innovation