พลังงานนิวเคลียร์ดีต่อโลกหรือไม่

พลังงานนิวเคลียร์ดีต่อโลกหรือไม่

“สังคมไร้คาร์บอน (Zero Carbon Society)” เป็นสังคมที่ใครหลายคนคาดหวังจะให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งนั่นหมายถึงการที่จะต้องใช้พลังงานสะอาดมาเป็นพลังงานทดแทน และหนึ่งในพลังงานที่ใครหลายคนนึกถึงก็คือ “พลังงานนิวเคลียร์” (Nuclear Energy) พลังงานทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูง แท้จริงแล้ว พลังงานนิวเคลียร์(Nuclear Energy)คืออะไร สามารถตอบโจทย์ได้จริงๆหรือไม่ และพลังงานนิวเคลียร์ดีต่อโลกจริงหรือ? เราไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ

พลังงานนิวเคลียร์คืออะไร

“พลังงานนิวเคลียร์” (Nuclear Energy) เป็นพลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียส ซึ่งเราเรียกการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ว่า“ปฏิกิริยานิวเคลียร์”  ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ

  • ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตอนและนิวนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุหนัก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำหลักการดังกล่าวนี้มาใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในการผลิตกระแสไฟฟ้าและในการศึกษาวิจัยต่างๆ
  • ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เกิดจากการรวมตัวกันของนิวเคลียสของธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน ทำให้เกิดนิวเคลียสธาตุที่มีน้ำหนักมากขึ้น และการรวมตัวดังกล่าวจะก่อให้เกิดพลังงานมหาศาลออกมา เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมากพอเพื่อจะทำให้เกิดการหลอมรวม ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวนี้เป็นแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์นั่นเอง

ข้อดี-ข้อเสียของพลังงานนิวเคลียร์

พลังงานทุกพลังงาน ล้วนแต่มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกันกับพลังงานนิวเคลียร์(Nuclear Energy) ดังนี้

ข้อดี

  • มีความมั่นคงทางพลังงาน
    เนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่มีการใช้เชื้อเพลิงที่น้อย แต่สามารถปล่อยพลังงานออกมาได้มาก ดังนั้นจึงทำให้หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้มีการเลือกใช้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ควบคู่ไปกับการผลิตพลังงานสะอาดประเภทอื่นๆด้วย
  • มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
    แท้จริงแล้ว ควันที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็คือไอน้ำที่เกิดจากระบบระบายความร้อนรวมถึงการผลิตไฟฟ้าเพียงเท่านั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนักเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีปริมาณของเสียโดยรวมน้อยกว่าด้วยเช่นกัน

ข้อเสีย

  • ต้องใช้เงินลงทุนในการเริ่มต้นสูงมาก
    ถึงแม้ว่าการลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์จะมีต้นทุนด้านพลังงานที่ต่ำ แต่จะต้องมีการลงทุนด้านสิ่งก่อสร้าง ระบบคลวามปลอดภัย และการทำระบบต่างๆสูงมาก ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องอาศัยบุคลากรที่มีความชำนาญ ที่มาพร้อมกับประสบการณ์ ทั้งยังต้องมีงบประมาณในการซ่อมบำรุงมหาศาลอีกด้วย
  • มีความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุด้านนิวเคลียร์ที่ค่อนข้างสูง
    ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุในส่วนนี้ค่อนข้างมาก และส่งผลกระทบมหาศาลให้กับผู้คนที่อาศัยอยู่รอบโรงงานไฟฟ้า ที่ต้องอพยพเพื่อหนีสารกัมมันตรังสี
  • มีพื้นที่เก็บกากกัมมันตรังสีจำกัด
    การกัมมันตรังสี เป็นปัญหาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แทบทุกแห่ง เพราะต้องใช้พื้นที่ในการเก็บขนาดใหญ่และมีระบบที่ปลอดภัยกันการรั่วไหลออกมา นอกจากนั้นกากกัมมันตรังสีบางส่วนยังมีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะต้องมีความเข้มงวดในระบบการจัดเก็บตามมา

ทำไมพลังงานนิวเคลียร์จึงไม่ใช่พลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต

เหตุที่พลังงานนิวเคลียร์ยังไม่ใช่คำตอบของพลังงานที่ยั่งยืนในโลกอนาคต มีเหตุผลหลักๆอยู่ 6 ประการด้วยกันดังนี้

  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยมาก

ปัจจุบันโลกเรากำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก ซึ่งวิธีในการรับมือจะต้องลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบพลังงานให้เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2593  จากการคาดการณ์ของสมาคมนิวเคลียร์สากล (World Nuclear Association) และ องค์กร OECD Nuclear Energy Agency ระบุว่า ถ้าหากเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เป็น 2 เท่าทั่วโลกภายในปี 2593 จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงประมาณร้อยละ 4เท่านั้น แต่ถ้าอยากให้ถึงเป้าหมายจะต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เพิ่มอีก 37 โรงทั่วโลกเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่สายส่งในทุกๆปีตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อันตรายและมีความเสี่ยงสูง

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาคารของโรงงานหรือโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นเป้าหมายสำคัญที่ง่ายต่อการโจมตีหรือประสงค์ร้ายอื่นๆ เช่น การคุกคามจากผู้ก่อการร้าย ความเสี่ยงการการพุ่งชนของเครื่องบินทั้งที่เป็นอุบัติเหตุและที่ตั้งใจการถูกโจมตีทางไซเบอร์หรือการก่อสงคราม เป็นต้น เพราะตัวอาคารไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทนทานต่อการถูกโจมตีนี้ ดูเหมือนว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นระบบติดตั้งทางอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนที่สุดแต่ในขณะเดียวกันก็มีความอ่อนไหวมากที่สุดด้วย ต้องมีทรัพยากรบุคคลที่ทำให้ระบบต่างๆดำเนินไปได้อย่างปกติ

  • ราคาของพลังงานนิวเคลียร์มีราคาแพงมากจนเกินไป
    เนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์อยู่ที่ช่วง 112 – 189 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง เป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับต้นทุนของพลังงานอื่นๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างแพง
  • การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ช้าเกินไป
    เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของโลกทุกวันนี้ต้องการการฟื้นฟูเพื่อสร้างสมดุลอย่างเร่งด่วน แต่การผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์กลับช้าเกินไปไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ยังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไป และในขณะที่รอการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นต้องใช้เวลานานและมีความซับซ้อน
  • การผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ได้สร้างกากของสารพิษในปริมาณมาก
    มีคนกล่าวว่า “กากนิวเคลียร์คือหายนะที่แท้จริงต่อสิ่งแวดล้อมโลกและต่อคนรุ่นใหม่ในอนาคต” เนื่องจากกากนิวเคลียร์มีปริมาณรังสีที่สูงมากและจะปล่อยรังสีนิวเคลียร์ไปอีกหลายพันปี ไม่เพียงเท่านั้น การจัดการกับกากรังสีนิวเคลียร์ในหลายประเทศยังต้องใช้เงินภาษีของประชาชนอีกจำนวนมากด้วย
  • คำสัญญาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ไม่เกิดผล
    รัฐบาลฝรั่งเศสและการไฟฟ้าฝรั่งเศส(EDF) ซึ่งกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ เคยประกาศว่าจะปฏิวัติวงการพลังงานนิวเคลียร์ด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีชนิดอัดความดัน(European Pressurised Reactor : EPR)  แต่ได้ประสบความล่าช้าในการสร้างและใช้งบประมาณมากมายเกินควร ทำให้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

พลังงานทุกพลังงาน ล้วนมีประโยชน์ มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกันกับพลังงานนิวเคลียร์ ในมุมหนึ่งอาจดูเหมือนตอบโจทย์ในเรื่องพลังงานทดแทน แต่ในอีกด้านก็คือหายนะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับสิ่งแวดล้อมและประชาชนทั่วไปที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีที่มาจากโรงไฟฟ้าผลิตนิวเคลียร์ด้วย

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

Smart farming ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่

Previous article

Green Covermat เปิดตัว “วัสดุทางเลือกรักษ์โลก” จากหินปูนธรรมชาติ งาน “BANGKOK AD & SIGN EXPO 2022”

Next article

You may also like

More in Innovation