Smart Farmer

แนวคิดด้านเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farmer เป็นแนวคิดการจัดการที่เน้นไปที่การจัดหาโครงสร้างพื้นฐานให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งรวมถึงข้อมูลใหญ่ๆ คลาวด์ และอินเทอร์เน็ตสำหรับการติดตาม ตรวจสอบ ดำเนินการอัตโนมัติ และวิเคราะห์การดำเนินการ อีกทั้งเกษตรอัจฉริยะยังหมายถึงการพัฒนาในการจัดเกษตรกรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ในขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพแรงงานคนที่ต้องการ เทคโนโลยีที่มีอยู่สำหรับเกษตรกรในปัจจุบัน ได้แก่ เซนเซอร์ ดิน น้ำ แสง ความชื้น การจัดการอุณหภูมิ แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงว่าสามารถเป็นนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนได้หรือไม่

การทำเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farmer ช่วยลดรอยเท้าทางนิเวศวิทยาของการทำเกษตรแบบปกติ โดยการประยุกต์ใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยที่สุดหรือเฉพาะสถานที่เพื่อพัฒนาความยั่งยืน เช่น ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ในระบบการเกษตรที่แม่นยำ จะช่วยลดปัญหาการชะล้างและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ก็เป็นที่น่าสนใจว่าจะพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมให้มีความยั่งยืนแค่ไหน โดยในประเทศไทยเริ่มมีการพูดถึงเป็นวงกว้าง

ทำไมการทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) จึงมีความสำคัญต่อเกษตรกรไทย

  • การทำเกษตรอัจฉริยะช่วยให้เกษตรกรเข้าใจปัจจัยสำคัญต่างๆ ได้ดีขึ้น เช่น น้ำ ภูมิประเทศ ลักษณะ พืชพรรณ และประเภทดิน ช่วยให้เกษตรกรสามารถกำหนดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมการผลิตของตน และจัดการสิ่งเหล่านี้ในลักษณะที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
  • เทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมช่วยลดมลพิษทางการเกษตร การใช้ปุ๋ยและสารกำจัดวัชพืชน้อยลง จะช่วยลดการชะล้างและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แล้วนั่นเองจะเป็นการประหยัดการนำปุ๋ยนอกมาใช้ในการเกษตร และเพิ่มความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
  • เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยี ในการแข่งขันแห่งวิวัฒนาการทางการเกษตร ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อิสราเอล ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปส่วนใหญ่กำลังใช้ “Internet-of-Things (IoT)” ในการปฏิบัติทางการเกษตรกรรมเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ดีและก้าวหน้า ซึ่งประเทศไทยกำลังพัฒนานวัตกรรมนี้เอามาใช้
  • การทำเกษตรอัจฉริยะ เป็นการเปลี่ยนแปลงและการปรับทิศทางของการทำฟาร์มเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยสามารถต่อยอดผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น และผลข้างเคียงที่ลดลง จึงเน้นนำเทคโนโลยีเพื่อเข้าใจสภาพที่เป็น และค้นหาต้นตอเพื่อพัฒนาต่อไปที่ยั่งยืน และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • ใช้นวัตกรรมเพื่อพยากรณ์ที่เหมาะสม เช่น การจัดการดิน ข้าวโพดทนแล้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์นม การเลี้ยงปลาดุกอย่างเข้มข้น การเงินเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูก เครื่องนวดข้าวลดขยะ การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน และระบบแรงจูงใจสำหรับการเกษตรคาร์บอนต่ำ

อุปสรรคของการทำ Smart Farmer ที่เห็นได้ชัดเจน

  • ต้นทุนเงินทุนเริ่มต้นอาจสูง ดังนั้นควรมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว แต่มีตัวแปรที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนตรงนี้ได้ เช่น รัฐบาลไม่ให้การสนับสนุนด้านเกษตรกรรม
  • การจะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเกษตรอัจฉริยะ อาจใช้เวลาหลายปีกว่า ถึงจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะนำระบบไปใช้อย่างสมบูรณ์ และต้องเพิ่มความน่าเชื่อถือพอที่จะลงทุนด้านนี้
  • การทำเกษตรอัจฉริยะ เป็นเนื้องานที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งอาจจะต้องมีการสำรวจพื้นที่จริงๆ เพื่อการวิเคราะห์ที่เหมาะสม

ความยั่งยืนในเกษตรกรรมสามารถทำได้โดยใช้สารเคมีที่เป็นพิษน้อยลง หรือไม่ใช้เลยยิ่งดีมากเลยทีเดียว เพราะจะช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้สูญเสียไป และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้วย Smart Farmer สามารถช่วยเกษตรกรในการใช้ข้อมูลที่เหมาะสมในการตัดสินใจ ซึ่งนำไปสู่การเกษตรที่มีรายได้ต่ำให้สามารถเข้าถึงโอกาสของเขาได้อย่างทั่วถึง การทำเกษตรอัจฉริยะ และการเกษตรแบบยั่งยืนขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูล

การทำเกษตรอัจฉริยะสนับสนุนการเกษตรที่ยั่งยืน และคุ้มทุนด้วยการใช้ดาวเทียมนำทางร่วมกับข้อมูลการสังเกตโลก เพื่อให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลเมื่อทำเกษตรกรรมได้ง่าย สามารถวิเคราะห์หาต้นตอเพื่อปรับปรุงการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และให้ผลผลิตมีความปลอดภัย ได้รับมาตรฐานคุณภาพระดับสากลมากขึ้น แต่ข้อจำกัดของนวัตกรรมนี้ก็มีมากเช่นกัน โดยเกษตรอัจฉริยะหรือ Smart Farmer ต้องการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง หากแต่พื้นที่ชนบทหรือถิ่นทุรกันดารของประเทศกำลังพัฒนา เช่น ทางชายขอบของประเทศไทย จะเห็นได้จากส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ เนื่องจากมีความเชื่อในการเพาะปลูกดั้งเดิม ยิ่งกว่านั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะช้ากว่า จึงเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงเพื่อการพัฒนา และความยั่งยืนในอนาคต

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

พลังงานนิวเคลียร์…เป็นพลังงานที่ดีต่อโลกใบนี้หรือไม่

Previous article

Universal Trail รองเท้ารุ่นรักษ์โลก ทำจากพลาสติกรีไซเคิล ถึง 4 ขวด

Next article

You may also like

More in Innovation