NOSTRA LOGISTICS ส่ง Waste Management System ตัวช่วยจัดการขยะครบวงจร ชูเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งขยะ หนุนดูแลสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
BitesizeInnovationLife

NOSTRA LOGISTICS ส่ง Waste Management System ตัวช่วยจัดการขยะครบวงจร ชูเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งขยะ หนุนดูแลสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

0

นอสตร้า โลจิสติกส์ (NOSTRA LOGISTICS) เผยผลสำรวจจากกรมควบคุมมลพิษ พบปริมาณขยะเพิ่มขึ้นถึง 15% จากวันละ 5,500 ตัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ล่าสุดเสนอเทคโนโลยีการจัดการกับขยะแบบอัจฉริยะ ผ่าน NOSTRA LOGISTICS Platform สุดยอดแพลตฟอร์มเทคโนโลยีระบบบริหารจัดการการขนส่ง ที่จัดการรถกับสินค้าและเส้นทางจัดส่ง พร้อมติดตามงานขนส่งแบบเรียลไทม์ แนะใช้ Route Optimization ที่เป็นจุดเด่นของระบบ ช่วยจัดการกับรถเก็บขยะมูลฝอย (Waste Management System) ใช้วางแผนเส้นทางการเดินรถเก็บขยะที่ดีที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการจัดสรรรถ ระบุตำแหน่ง และระยะเวลาที่เหมาะสมในการเดินรถเก็บขยะ กำหนดจุดรวบรวมขยะ คำนวณเส้นทาง และเขตพื้นที่ เพื่อเดินรถเก็บขยะตามจุดต่าง ๆ หวังให้เกิดการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ เดินหน้าพัฒนาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart city ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Waste Management System

วรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของวิกฤตเชื้อไวรัสโควิด-19 รัฐบาลได้ออกมาตรการขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้าน และทำงานจากที่บ้าน ด้วยวิถีชีวิตที่ปรับเข้าสู่รูปแบบ New Normal ก่อให้เกิดขยะพลาสติกจากการใช้บริการสั่งอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ รวมทั้งขยะจากการใช้อุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 และการทำความสะอาดต่าง ๆ โดยผลสำรวจจาก กรมควบคุมมลพิษ พบปริมาณขยะเพิ่มขึ้นถึง 15% จากวันละ5,500 ตัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นที่มาของเทคโนโลยี ระบบจัดการรถเก็บขยะมูลฝอย (Waste Management  System) ของ NOSTRA  LOGISTICS ที่มุ่งมั่นพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาด้านการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต่อไป

“การรณรงค์เรื่องการกำจัดขยะเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทั้งภาคประชาชน และภาครัฐ โดยประชาชนในฐานะผู้บริโภคสามารถมีส่วนช่วยได้ด้วยการเลือกงดรับตะเกียบ ช้อนส้อมพลาสติก และซองเครื่องปรุง รวมทั้งการแยกขยะทุกครั้ง เพื่อนำส่วนหนึ่งไปรีไซเคิลหรือนำไปใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังสามารถสนับสนุนโดยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจและพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะจากอาหารที่ถูกต้องให้กับประชาชน และจัดจุดรับขยะพลาสติกตามชุมชน นอกจากนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการขยะตามห่วงโซ่ของกระบวนการจัดการขยะ แบ่งออกเป็นขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การรวบรวม การขนส่ง การแปรรูปขยะและการรีไซเคิล จนถึงการนำไปกำจัด เช่น เทคโนโลยีระบบท่อสุญญากาศที่ไม่ต้องใช้รถขนขยะ ซึ่งเป็นวิธีที่ลงทุนสูง แต่มีข้อดีในการช่วยลดการใช้รถและคน ซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายและพลังงานเชื้อเพลิงในระยะยาว รวมถึงลดมลภาวะด้านเสียงและอากาศ ทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ติดตั้งที่ถังขยะและทำงานประสานกับการใช้รถขนขยะ ผ่านการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ WIFI สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบริหารการขนส่ง โดยติดตั้ง GPS Tracking ที่รถขนขยะเพื่อส่งข้อมูลการติดตามการจัดเก็บขยะไปยังระบบบริหารจัดการขยะ บน Cloud system ในแบบเรียลไทม์ ตลอดจนการประเมินและวางแผนการจัดการขยะให้เกิดประสิทธิภาพได้ต่อไป” วรินทร กล่าว

 NOSTRA LOGISTICS ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีโซลูชันสำหรับภาคธุรกิจโลจิสติกส์แบบครบวงจร (One-Stop Logistics IT solution) ด้วย NOSTRA LOGISTICS Platform โดยเฉพาะส่วนของระบบ TMS หรือ Transport Management System สำหรับการบริหารจัดการการขนส่ง ที่จัดการรถกับสินค้าและเส้นทางจัดส่ง ติดตามงานขนส่งแบบเรียลไทม์ และใช้ Route Optimization เพื่อการวางแผนการเดินรถ และจัดสรรทรัพยากร ใช้เสริมจุดเด่นของระบบจัดการรถเก็บขยะมูลฝอย (Waste Management Application) ในการวางแผนการเดินรถที่ดีที่สุด เพื่อประสิทธิภาพการจัดสรรการใช้รถและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเดินรถเก็บขยะ กำหนดจุดรวบรวมขยะ คำนวณเส้นทาง และเขตพื้นที่ เพื่อเดินรถเก็บขยะตามจุดต่าง ๆ ไปยังจุดพักขยะ และจุดกำจัดขยะ โดยขั้นตอนเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเข้าสู่ระบบ (Data Collection) เช่น ทะเบียนรถ ผู้ขับรถ ตำแหน่งจุดเก็บขยะ จากนั้นกำหนดเส้นทางการเดินรถ จุดที่ต้องเข้าเก็บขยะตามเขตพื้นที่ พร้อมจับคู่รถกับผู้ขับขี่ (Route Optimization) หลังจากปล่อยรถออกไปเก็บขยะแล้ว ระบบจะสามารถติดตามเส้นทางและตำแหน่งวิ่งรถแบบเรียลไทม์ (Vehicle Tracking) ด้านพนักงานเก็บขยะ เมื่อถึงจุดเก็บขยะ พนักงานสามารถเลือกใช้แอปพลิเคชัน เพื่อระบุตำแหน่งที่เก็บขยะและเวลาเข้าถึงจุดแบบอัตโนมัติ โดยสามารถบันทึกภาพ ก่อน และหลังจากการเก็บขยะ เพื่อเป็นหลักฐานการเสร็จงานในแต่ละจุดได้ โดยภาพถ่ายจะเข้าไปในระบบทันที ทีมงานหลังบ้านสามารถมองเห็นกลุ่มรถและสรุปงานรายวันหรือรายเดือนได้โดยสะดวก

ทั้งนี้ ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาระดับมหภาค ที่ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนและร่วมมือกับภาคประชาชนเพื่อการจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน โดยการริเริ่มนโยบายและการลงทุนเทคโนโลยีการจัดการขยะอย่างจริงจัง จะเป็นทางออกที่ช่วยให้จำนวนขยะลดน้อยลง และถูกนำไปจัดการได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืน มุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart city ทัดเทียมนานาประเทศ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคโนโลยีจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาขยะล้นเมืองคือการไม่สร้างขยะเพิ่มโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนในประเทศ ที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานและลดการสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสามารถช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป นางวรินทร กล่าวทิ้งท้าย

ESRI ชู ArcGIS ตัวช่วยบริหารจัดการ “สมาร์ทซิตี้” ยุคใหม่ หนุนใช้ Location Intelligence วิเคราะห์เชิงลึกงานก่อสร้าง – อสังหาฯ สู่เมืองอัจฉริยะ

Previous article

เอบีม คอนซัลติ้ง ประเทศไทย เผยพฤติกรรมการซื้อรถเปลี่ยน เร่งค่ายรถยนต์เน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเต็มรูปแบบ หนุนสร้างลูกค้าใหม่คู่กับการรักษาฐานลูกค้าเดิม

Next article

You may also like

More in Bitesize