คาเฟ่ อเมซอน ในปี 2565 ที่ผ่านมาในโลกของธุรกิจมักจะมีการหยิบยกแนวคิดการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) มาพูดถึงกันมาก เนื่องจากเป็นเทรนด์ของโลกที่คนกำลังให้ความสนใจ และถูกมองว่าเป็นทางออกของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังจะต้องพบเจอในอนาคต การปล่อยคาร์บอนให้ลดน้อยลงจะเข้าไปช่วยเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ลดโลกร้อน ที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหากับการเป็นอยู่ของมนุษย์ต่อไป
แน่นอนว่าเมื่อเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่ในโลก จนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ด้านการทำอุตสาหกรรม ทั้งธุรกิจสินค้าและบริการเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปด้วย จากเดิมที่เคยเป็นด้านหลักในการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และในบางกลุ่มอาจจะถูกมองว่าเป็นตัวร้าย และเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะฉุดรั้งให้แนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ไม่เป็นผล แต่กลับกันในปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมหลายกลุ่มได้ออกมาเดินหน้าเรื่องนี้ก่อนที่ภาคประชาชนจะเริ่มเข้าใจด้วยซ้ำ
ในประเทศไทยเอง ปี 2565 ถือว่าเป็นปีสำคัญที่หลายกลุ่มบริษัทออกมาแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ ผ่านแนวคิดการดำเนินธุรกิจร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับที่บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) หรือโออาร์ (OR) ได้ดำเนินงานอยู่ ผ่านธุรกิจหลักอย่าง คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) ที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจยึดหลักความยั่งยืน หรือ บีซีจี โมเดล (BCG Model) ผ่านทั้ง 3 ด้านหลัก ได้แก่
คาเฟ่ อเมซอน แนวทางการดำเนินธุรกิจยึดหลักความยั่งยืน
1.ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)
โดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของใช้ภายในร้านทั้งแก้วร้อน BIO, แก้วเย็น PLA, หลอด Bio ที่ผลิตจากพืช เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ในระยะเวลาประมาณ 6 – 24 เดือนรวมถึงการปรับมาใช้ถุงกระดาษทดแทนถุงพลาสติกใส่เบเกอรี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดสามารถช่วยลดประมาณขยะได้ถึงประมาณ 1,831 ตัน / ปี
2.ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
นำวัสดุเหลือใช้มา Upcycling ผลิตเป็นสินค้า และเฟอร์นิเจอร์ภายในร้าน โดยแก้วพลาสติก PET และขวดน้ำพลาสติก ที่มีการใช้ไปแล้ว จะถูกนำไปรีไซเคิลและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำไปย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ และให้ความร้อนเพื่อให้พลาสติดหลอมละลายและขึ้นรูปเป็นเส้นใยรีไซเคิล ซึ่งเส้นใยดังกล่าวจะถูกส่งให้โรงงานทอ เพื่อทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บและนำมาผลิตเป็นชุดโซฟา ผ้ากันเปื้อนและเสื้อพนักงานใช้ในร้าน Café Amazon นอกจากนี้ยังถูกมาขึ้นรูปเป็นเส้นใย Non-woven เพื่อตัดเย็บเป็นกระเป๋าและที่รองแก้วอีกด้วย
ขณะที่วัตถุดิบที่อยู่ในกระบวนการต้นน้ำอย่างเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟเมล็ดกาแฟ ก็ได้ถูกนำมาอบเพื่อไล่ความชื้น จากนั้นนำมาผสมกับเม็ดพลาสติกและขึ้นรูปเป็นแผ่นแล้วจึงนำมาประกอบเป็นโต๊ะ เก้าอี้และชั้นวางของที่แข็งแรงทนทานใช้ภายในร้าน Café Amazon เช่นเดียวกับถาดพลาสติกชนิด Polystylene ที่ใช้ในร้าน Café Amazon กว่า 75,000 ชิ้นถูกนำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆและนำไปผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 180-200 องศาเซลเซียส
เพื่อผลิตออกมาเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จากนั้นจะถูกนำมาให้ความร้อนอีกครั้งและรีดเป็นแผ่น เพื่อนำมาผลิตเป็นเพดานสำหรับตกแต่งภายในร้าน โดยร้าน Café Amazon ในสถานี PTT STATION สาขา สามย่าน เป็นสาขาแรกที่มีวัสดุและเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งทั้งภายในและภายนอกร้าน ทำมาจากวัสดุเหลือใช้ทั้งจากภายในร้าน Café Amazon และโรงคั่วกาแฟ
3.ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
โดยเป็นการจัดการของเสียจากกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดน้ำเสียจากการแปรรูปกาแฟ และการจัดการขยะจากเปลือกกาแฟ อย่างการนำไปพัฒนาเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ โออาร์ ในการมุ่งเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment)
ขณะที่การจัดการกับขยะอีกหนึ่งเรื่องก็คือการเปลี่ยนถุงฟอยด์ใส่เมล็ดกาแฟ ที่เหลือใช้ในโรงคั่ว Café Amazon อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาเป็นสินค้าพรีเมียมพิเศษ ’The Upcycling Collection’ ได้แก่ กระเป๋าเครื่องสำอางรักษ์โลก ราคาใบละ 299.-, กระเป๋าคาดเอวรักษ์โลก ราคาใบละ 399.- , กระเป๋าแมสเซนเจอร์รักษ์โลก ราคาใบละ 599.- และ กระเป๋าโน๊ตบุ๊ครักษ์โลก ราคาใบละ 499.-
ซึ่งสินค้าทั้งหมดผลิตโดยกลุ่มชาวบ้านในโครงการกระจายรายได้สู่ชุมชน เขตจังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มผู้ต้องขังในโครงการคืนคนดีสู่สังคม (สร้างงานสร้างอาชีพ) จากเรือนจำเขาพริก จังหวัดนครราชสีมาตัวกระเป๋ากระเป๋าสามารถกันน้ำและมีความทนทาน ส่วนของสายกระเป๋าและตัวล็อคของกระเป๋าแมสเซนเจอร์ทำมาจากสายรัดเข็มขัดบนเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งาน
จากแผนดำเนินงานทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า โออาร์ ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการของธุรกิจ ในฐานะเจ้าของแบรนด์ Café Amazon ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่มีสาขามากเป็นลำดับที่ 6 ของโลก จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก้วและวัสดุต่างๆ ภายในร้าน Café Amazon ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สามารถตอบโจทย์ BCG Economy ในทุกด้าน โดยเน้นการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน รวมถึงผลักดันให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนับตั้งแต่กระบวนการผลิตเริ่มต้นจนถึงการบริหารจัดการของเสียหลังการอุปโภคและบริโภค
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก Café Amazon