การจัดการและใช้ประโยชน์จากขยะรีไซเคิล

การจัดการและใช้ประโยชน์จากขยะรีไซเคิล

ตั้งแต่เด็กจนโต เราจะต้องเคยได้ยินคำว่า “รีไซเคิล” กันมาบ้าง และต้องคุ้นเคยกับเจ้าสัญลักษณ์ที่แปะบนถังขยะรีไซเคิลมาเหมือนกัน มีใครเคยนำขยะรีไซเคิลไปเข้าสู่กระบวนการผลิตให้เกิดเป็นของชิ้นใหม่ ๆ กันบ้างหรือเปล่า วันนี้เราจึงจะพาไปเรียนรู้การจัดการและใช้ประโยชน์จากขยะรีไซเคิลกันค่ะ

ทำความรู้จักกับขยะรีไซเคิลกัน

ขยะรีไซเคิล หมายถึง ขยะ ของเสีย หรือวัสดุเหลือใช้ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ ฯลฯ ขยะรีไซเคิล มีปริมาณ 42% ของขยะทั้งหมดทุกประเภท ขยะพวกนี้มีประโยชน์หลายซ้ำหลายซ้อนเพราะสามารถนำไปผลิตได้ใหม่ไม่รู้จบ

แนวทางการจัดการขยะรีไซเคิล

สำหรับแนวทางการจัดการขยะรีไซเคิล เราสามารถนำมาแยกตามประเภท ได้ดังนี้

  1. พลาสติก ขยะรีไซเคิลประเภทพลาสติกมีจำนวนมากขึ้นทุกวัน เพราะสินค้า และบรรจุภัณฑ์

ส่วนมากทำมาจากพลาสติก มีความทนทานมาก ซึ่งขยะพวกนี้เมื่อนำมาเผาก็จะทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม หรือหากนำไปฝังกลบ ก็จะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการฝังกลบ จึงเหมาะมากที่จะนำมารีไซเคิล โดยพลาสติกสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เกือบทุกประเภท เช่น โพลีโพรพิลีน นิยมนำมาใช้เป็นถ้วยนมเปรี้ยว โพลีเอททิลีน นำมาทำขวดเครื่องดื่ม
การจัดการ : ล้างพลาสติกพร้อมดึงฉลากออกให้หมด จากนั้นทำให้แบนเพื่อประหยัดพื้นที่ แล้วจึงคัดแยกตามประเภทของขยะรีไซเคิล

  1. กระดาษ ขยะรีไซเคิลประเภทกระดาษ อาจจะมาจากบ้านเรือนหรือสำนักงาน เช่น หนังสือพิมพ์

กระดาษคอมพิวเตอร์ ถุงกระดาษ ลังกระดาษ กระดาษเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
การจัดการ : ควรมีการแยกประเภทของกระดาษก่อน เช่น กล่องนม กระดาษย่อยสลาย กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษลัง ฯลฯ ส่วนการรีไซเคิลนั้น กระดาษษที่รับซื้อมาจากบ้านเรือนหรือแหล่งต่างๆ จะถูกส่งไปยังโรงงานกระดาษ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผสมในการผลิตกระดาษประเภทต่าง ๆ เช่น กระดาษขาวจะถูกแปรรูปเป็นกระดาษสมุด กระดาษหนังสือพิมพ์จะถูกแปรรูปเป็นกระดาษห่อของขวัญ

  1. แก้ว : ขยะรีไซเคิลประเภทแก้ว ที่นำทราย หิน และโซดาไฟเป็นส่วนผสม โดยนำมาหลอมให้ขึ้นรูปเป็น

ภาชนะต่าง ๆ แม้ว่าแก้วจะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายไม่ได้ แต่สามารถนำมาหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งขวดแก้วแต่ละสีมีมูลค่าที่แตกต่างกัน สีที่ได้ราคาดีที่สุด คือขวดแก้วสีขาว รองลงมา คือ สีชาและสีเขียว
การจัดการ : จะมีการคัดแยกตามประเภท เพื่อนำไปทำความสะอาด แล้วนำมาบรรจุสินค้าใหม่อีกครั้ง ส่วนขวดแก้วที่แตกหัก จะถูกคัดแยกตามสี แล้วจึงส่งเข้าโรงงานหลอมแก้ว เมื่อทุบให้แตกละเอียดแล้วล้างด้วย

สารเคมีและหลอมละลายเพื่อเป่าให้เป็นขวดใหม่ได้

  1. โลหะ : ขยะรีไซเคิลประเภทโลหะ สามารถนำกลับมารีไซเคิลโดยการนำมาหลอมและแปรรูปเป็น

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้
การจัดการ : เศษเหล็กที่รวบรวมได้พ่อค้ารับซื้อของเก่าจะทำการตัดเหล็กตามขนาดต่าง ๆ ตามที่โรงงานกำหนดเพื่อสะดวกในการเข้าเตาหลอมและการขนส่ง ส่วนโลหะประเภททองเหลือง ทองแดง สแตนเลส สามารถนำกลับมาหลอมใหม่ขึ้นเป็นพระพุทธรูปได้

  1. อะลูมิเนียม : ขยะรีไซเคิลประเภทอะลูมิเนียม จะมีแบบบางและแบบหนา ไม่ว่าจะเป็นอะไหล่รถยนต์

หม้อ กะละมัง กระป๋องเครื่องดื่ม ฯลฯ

การจัดการ : ขยะรีไซเคิลอลูมิเนียมประเภทกระป๋องน้ำอัดลมเป็นขยะที่มีปริมาณมากก่อนที่จะนำไปขาย ควรอัดกระป๋องให้มีปริมาณเล็กลง เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการขนส่ง

เห็นไหมล่ะคะว่าการรีไซเคิลมีประโยชน์มากแค่ไหน อย่างน้อย ๆ ก็ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลงด้วย ใช้แล้วก็นำกลับมาใช้ใหม่ซ้ำ ๆ

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

ขยะล้นโลก เมื่อทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย

Previous article

นวัตกรรมสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงโลกในวันนี้ให้ดีขึ้น

Next article

You may also like

More in Life