เสาร์ที่ 25 มี.ค. นี้ชวนเป็นส่วนหนึ่งรักษาสิ่งแวดล้อม ปิดไฟประหยัดพลังงานพร้อมกันทั่วโลก เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่ 20.30-21.30 น. พร้อมฟังเสวนาเพลิน ๆ เรื่องพลังงาน

ทุก ๆ วันเสาร์สุดท้ายของเดือนมีนาคม จะเป็นวันจัด กิจกรรมปิดไฟทั่วโลก ที่ผู้กำหนดคือ WWF หรือ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wild Fund for Nature) และสำหรับปี 2566 นี้ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม

ซึ่งกรุงเทพมหานครก็ได้เข้าร่วมด้วย เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนและทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมปิดไฟทั่วโลก

กิจกรรมปิดไฟทั่วโลก

ลักษณะกิจกรรมคือการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ร้านค้า และประชาชนลดการใช้พลังงานและปิดไฟที่ไม่จำเป็น เช่น ไฟประดับ ไฟอาคาร ป้ายโฆษณา การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน ลดการใช้เครื่องปรับอากาศในอาคารบ้านเรือน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พร้อมกับเมืองต่าง ๆ กว่า 7,000 เมือง 190 ประเทศทั่วโลก ช่วงเวลา 20.30-21.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น)

ผลจากการจัดกิจกรรมนี้ เมื่อปี 2565 กทม.สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 78 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 20 ตัน คิดเป็นมูลค่า 176,172 บาท ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 แล้ว

ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2551 เราสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 12,255 ตันแล้ว คิดเป็นมูลค่า 81 ล้านบาท

นอกจากนี้ กทม.ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ERI) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และภาคีเครือข่าย

ภายใต้การดำเนินงานโครงการพลังงานสะอาดเข้าถึงได้และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia: CASE)

จัดงาน “Energy เอเนอจิ้น : จินตนาการเพื่อพลังงานที่เป็นมิตรต่อชีวิตและโลก” ในวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2566 ระหว่างเวลา 16.30 – 21.30 น. ด้วย ณ บริเวณลานด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน

โดยมีกิจกรรมส่งเสริมลดการใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบ อาทิ ฟังทอร์ค เดินดูบูธ และเยี่ยมชมนิทรรศการ เพื่อ “ร่วมจินตนาการ…เปลี่ยนผ่านพลังงานในรุ่นเรา” อีกทั้งร่วมฟังเวทีเสวนานโยบายด้านพลังงาน และมาร่วมปิดไฟที่ไม่จำเป็น ในกิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2023)

อีกทั้ง ในวันที่ 25 มี.ค. จะมีการปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ ใน 5 สถานที่หลักกทม. ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า สะพานพระราม 8 และวัดพระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง)

นอกจากนี้ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ เจ้าของอาคารสถาน อาทิ เอ็มควอเทียร์ ดิเอ็มโพเรียม เซ็นทรัลเวิลด์และห้างสรรพสินค้าเครือเซ็นทรัล ไอคอนสยาม ไบเทคบางนา อาคารการไฟฟ้านครหลวง (บางนา) เทอมินอล 21 อาคารปูนซีเมนต์ไทย เกทเวย์@บางชื่อ อาคารไบหยก โรงแรมเดอะสุโกศล แฟชั่นไอส์แลนด์ พาราไดซ์พาร์ค อาคารทิปโก้ ฯลฯ ร่วมปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ และยังมีอาคารบ้านเรือนในถนนมากกว่า 100 สาย พร้อมใจกันร่วมปิดไฟที่ไม่ใช้งาน ลดใช้พลังงานในวันดังกล่าวด้วย

ส่วนวันที่ 26 มีนาคม ตั้งแต่เวลา 16.30 น. ผู้เข้าร่วมจะได้รับฟังทอล์กจากเวที “The Ener จิ้น’s Talk : การเปลี่ยนผ่านพลังงานบนความต้องการของประชาชน” รวมไปถึงการนำเสนองานวิจัยผ่านบทสนทนาในเวที “Energy Conversation : เส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดของประเทศไทย” ปิดท้ายด้วยเสวนาพรรคการเมือง “ชวนพรรคร่วมคิด: ให้พลังงานเป็นมิตรต่อโลก ไปกับความต้องการของประชาชน”

ซึ่งทั้ง 2 วันของการจัดงานฯ จะมีการออกบูธของเครือข่ายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น Muvmi, Ari around, Flo ไอศกรีมไข่ผำ, สินค้ารักษ์โลก  บูธนิทรรศการ “ร่วมจินตนาการ…เปลี่ยนผ่านพลังงานในรุ่นเรา” และบูธคัดแยกขยะของสำนักสิ่งแวดล้อม รวมถึงนิทรรศการจากเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านพลังงาน และภายในงานจะมีกิจกรรมที่สามารถร่วมสนุกลุ้นรับของที่ระลึกตลอดงาน

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก springnews

แนวโน้มการพัฒนาที่ยั่งยืน 2023

Previous article

Nova BUILD EXPO 2023

Next article

You may also like

More in Life