ก่อนถึงวันสิ้นโลกต้องรู้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ก่อนถึงวันสิ้นโลกต้องรู้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหมายที่อาจนำไปสู่การแก้ไข

กว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งนั้นจะเกิดขึ้นกับสภาพอากาศใช้เวลานานนับทศวรรษหรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ แต่พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตเช่นมนุษย์ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ได้เช่นกัน อย่างภาวะการเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) ซึ่งจะเกิดขึ้นในบรรยากาศทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์โดยตรงอย่างที่ปฏิเสธไม่ได้

ในส่วนนี่เราจะพูดถึงภาวะโลกร้อน เป็นปรากฏการณ์ที่บอกว่าโลกของเราเจอวิกฤตที่สร้างผลกระทบมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของอุณหภูมิโลกมี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำแข็งละลายและการระเหยของน้ำแข็งจึงทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น หากมองลึกลงไปจะทราบว่าสมุทรทอุ่นขึ้นอาจนำไปสู่การเกิดพายุซึ่งจะมีความรุนแรงขึ้น  ไม่เพียงเท่านี้ปัญหายังตามมาอีกเพียบคือความแปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งปัจจุบันเราก็เริ่มจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพกันแล้วว่าสร้างความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก รวมไปถึงระบบนิเวศและสัตว์ทะเลต่าง ๆ อย่างไร ฉะนั้นเวลาทุกคนควรตระหนักกันได้แล้วหากยังให้โลกใบนี้อยู่กับเราไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

เรียนรู้ผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากหลายสาเหตุ

ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการละลายของธารน้ำแข็ง

เมื่อโลกของเราเผชิญกับภาวะโลกร้อนถือเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ในหลายปีที่ผ่านมาน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายไม่ว่าจะเป็นพื้น น้ำแข็งในทะเล ธารน้ำแข็ง แผ่นน้ำแข็ง เกิดจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและมีการตรวจสอบเพื่อดูมวลน้ำแข็งที่ได้เกิดการละลายชัดเจนว่าน้ำแข็งแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์มีอัตราลดลงแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่เพียงเท่านี้ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้เกิดขึ้นกับทั่วทุกมุมโลกอย่างเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาแอนดีส เทือกเขาร็อกกี้ อะแลสกาและแอฟริกา ซึ่งเป็นการสำรวจจากดาวเทียมมของ NASA แน่นอนว่าเมื่อน้ำแข็งละลายในอัตราการมากขึ้นทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น โอกาสเกิดอุทกภัย พายุที่รุนแรงส่งผลต่อสิ่งมีชีวอตทั่วทั้งโลก

เชื่อว่ามนุษย์เราสามารถนึกภาพตามออได้ว่าหากน้ำแข็งละลายจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะในภาพยนตร์ฝรั่งก็ได้สร้างขึ้นมาอย่างสมจริง ทำให้อดขนลุกไม่ได้ว่าหากเกิดขึ้นจริง ๆ เราจะทำอย่างไร

สภาพอากาศสูงสุดและต่ำสุดขั้ว

ณ เวลานี้สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสุดขั้วได้ไม่ว่าจะเป็นด้านความถี่ ความรุนแรง ขอบเขตพื้นที่ ระยะเวลา ได้แก่ จำนวนวันและคืนที่มีอากาศอบอุ่นเพิ่มขึ้น แต่ทางกลับกันจำนวนวันและคืนที่หนาวเย็นลดลง ความถี่และความรุนแรงของอุณหภูมิที่ว่านั้นส่งผลให้มีความร้อนจัดและเกิดภัยพิบัตรต่าง ๆ น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุเฮอริเคน เหล่านี้เกิดจากธรรมชาติที่มีความแปรปรวน

ชั้นบรรยากาศของโลกมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้น

การเกิดก๊าซเรือนกระจกสามารถเกิดได้ทั้งจากทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ แต่ที่ทำให้ปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเห็นทีจะเป็นการกระทำของมนุษย์ อีกทั้งในตอนนี้มีปริมาณจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีความต้องการใช้พลังงานเยอะกว่าเดิม เป็นตัวการหลักของการเกิดอุณหภูมิผิดปกติที่ โดยกิจกรรมที่ว่าคือการทำธุรกิจอย่างโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจุดที่ร้ายแรงที่สุดที่ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเริ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุของกิจกรรมมี ดังนี้

  • การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นสาเหตุที่เกิดแก๊ซเลือนกระจกมากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นอันดับต้น ๆ ของกิจกรรมทั้งหมด โดยการเผาไหม้ที่ว่าคือการเผาถ่านหินและน้ำมัน มีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสู
  • กิจกรรมการเกษตร อาทิ เช่น วัว ดินทางการเกษตรและการผลิตข้าว เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการเกิดก๊าซเลือนกระจกคิดเป็นเปอร์เซ้นต์ปริมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์
  • กิจกรรมจากการใช้ที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการเผาป่าเพื่อเคลียร์หน้าดินเพื่อการเพาะปลูก การขยายและกิจกรรมอื่น ๆ คิดเป็นปริมาณ 5-10%

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเวลานี้ต้องยอมรับว่าสาเหตุหลักมาจากน้ำมือของมนุษย์ล้วน ๆ เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในเวลานี้ส่งผลให้ปริมาณแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเลือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากปล่อยไม่นานจะถึงวันสิ้นโลก เชื่อว่าคุณคงไม่อยากให้เกิด ฉะนั้นหากมีกิจกรรมใดช่วยลดการเกิดผลกระทบได้เราก็ควรให้ความร่วมมือ

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

ชมไฟ “คริสต์มาสรักษ์โลก” ถ่ายรูปสุดชิคไปกับแนวคิด Circular Living ที่สยามดิสคัฟเวอรี่

Previous article

AI จำลองเป็นศิลปินชื่อดัง วาดภาพสะท้อนวิกฤตทางสภาพอากาศ

Next article

You may also like

More in Life