ที่มาของ แหล่งพลังงาน มาจากไหน ?

แหล่งพลังงาน มาจากไหนกัน ลองนึกย้อนกลับไปสมัยในอดีต มนุษย์เรารู้จักกับพลังงานและนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง เมื่อประมาณเกือบๆ ล้านปีมาแล้วพลังงานที่ใช้และค้นพบยุคแรกคือพลังงานจาก “ไฟ”

โดยที่มนุษย์โบราณนำมาใช้ในการให้ความอบอุ่นกับตัวเอง และใช้ในการหุงหาอาหาร ป้องกันสัตว์ร้ายและในยุคต่อ ๆมา ประมาณพันกว่าปี ก่อนชาวอียิปต์ได้เรียนรู้ที่จะประยุกต์ เอาพลังงานลมมาใช้ในการเดินเรือ

ซึ่งก็เป็นที่มาของใบพัดเรือและกังหันวิดน้าพลังงานลม ต่อมาสักประมาณ 200 กว่าปี ก็มีการค้นพบพลังงานรูปแบบต่างมากมายไม่ว่าจะเป็น พลังงานไฟฟ้า พลังงานจากน้ำมัน พลังงานน้ำ พลังงานกล

เราจำแนก แหล่งพลังงาน โดยแบ่งตามแหล่งที่มา ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.พลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy)

หมายถึง แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้น หรือมีอยู่แล้วตามธรรมชาติสามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น

2.พลังงานแปรรูป (Secondary Energy)

หมายถึง สภาวะของพลังงานซึ่งได้มาโดยพลังงานต้นกำเนิดดังกล่าวแล้วข้างต้นมาแปรรูป ปรับปรุง ปรุงแต่ง ให้อยู่ในนรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านไม้ ก๊าซปิโตรเลียมเพลว เป็นต้น

เราสามารถ จำแนกรูปแบบของพลังงานได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา และการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งพลังงานรูปแบบหนึ่ง สามารถเปลี่ยนไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ โดยสามารถจำแนก ได้ดังนี้

ที่มาของ แหล่งพลังงาน มาจากไหน ?

  1. พลังงานเคมี (Chemical Energy) เป็นพลังงานที่อยู่นสารเคมี หรือ วัตถุอัตรายซึ่งจะปล่อยออกมาเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีเช่น การเผาที่ใช้ ฟืน , ถ่านไม้ , น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
  2. พลังงานความร้อน (Heat Energy/Thermal Energy) เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของโมเลกุลของวัตถุต่าง ๆซึ่งพลังงานความร้อนต้องเกิดจากการกระตุ่น เช่น ใช้เตาแก๊สต้มน้ำ ทำให้เกิดความร้อนขึ้นมาได้
  3. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ลูกธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง
  4. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่ง ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วง หรือ แรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง แล้วล่วงลงสู่พื้น
  5. พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy) เป็นพลังงานที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพลังงานที่ สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้ง่าย เปลี่ยนเป็นพลังงานกล เช่น พัดลม มอเตอร์ เป็นต้น
  6. พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) เป็นลักษณะการแผ่รังสีของพลังงาน เช่น คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า

ของคุณแหล่งที่มาจาก powermeterline

ทำความรู้จัก BlueCycle นวัตกรรมสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

Previous article

OPPO เดินหน้าแนวคิดความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Next article

You may also like

More in Life