The Incubation Network ช่วยสตาร์ทอัปแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร (2)
LifeTOP STORIES

The Incubation Network ช่วยสตาร์ทอัปแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร

0

เดอะ อินคิวเบชัน เน็ตเวิร์ค (The Incubation Network) โครงการที่ให้การสนับสนุนวิธีการแก้ปัญหาที่เน้นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติก ร่วมมือกับ 3 องค์กรชั้นนำด้านการบ่มเพาะสตาร์ทอัปและเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้ความรู้ การสร้างเครือข่ายธุรกิจ และให้คำปรึกษาแก่สตาร์ทอัปที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของการทำธุรกิจและผู้ประกอบการในประเทศไทยให้สามารถจำหน่ายและต่อยอดนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติก

The Incubation Network เป็นโครงการที่เน้นแก้ปัญหาผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก SecondMuse และ The Circulate Initiative โดยเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยรวมถึงประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปลายปี 2562 สำหรับความร่วมมือล่าสุดกับพันธมิตร 3 ราย ได้แก่ Seedstars, Alliance to End Plastic Waste และ STEAM Platform ในวันนี้ ได้รับเงินลงทุนเชิงกลยุทธ์จำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 68 ล้านบาท) จาก ECCA Family Foundation เพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยจัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย ด้วยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ หรือนำไปรีไซเคิล

คริสเตียน อัลกอต อีนีโวลด์เซน ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ ECCA Family Foundation

คริสเตียน อัลกอต อีนีโวลด์เซน ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ ECCA Family Foundation

คริสเตียน อัลกอต อีนีโวลด์เซน ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ ECCA Family Foundation กล่าวว่า “ECCA Family Foundation รู้สึกภูมิใจที่มีส่วนสนับสนุน The Incubation Network เนื่องจากเรามั่นใจว่า The Incubation Network จะสามารถนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติก พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่มีหน้าที่จัดการขยะ และสนับสนุนการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เราเห็นถึงความพยายามของประเทศไทยในการจัดการกับความท้าทายด้านปัญหาขยะพลาสติก โดยองค์กรอย่าง The Incubation Network จะสามารถให้การสนับสนุนด้านเทคนิค สร้างเครือข่ายธุรกิจ และเงินทุนเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและผู้ประกอบการของไทย ให้สามารถพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถนำมาใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ประเทศไทยก่อให้เกิดมลพิษจากขยะพลาสติกในมหาสมุทรมากเป็นอันดับ 6 ของโลก คิดเป็นขยะราว 322,000 ตัน จากขยะจำนวนทั้งสิ้น 8-12 ล้านตันที่ไหลลงสู่มหาสมุทรทั่วโลกในแต่ละปี ขยะส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีการกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง โดยถูกเผาและฝังกลบในพื้นที่ที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล หรือรั่วไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม

ดร.ศิรินทร์ชญา ปรีชาภัฏสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัท SecondMuse

ดร.ศิรินทร์ชญา ปรีชาภัฏสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัท SecondMuse

โครงการของภาครัฐและเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาขยะในปัจจุบันสามารถต่อยอดและขยายผลได้ด้วยการเพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและการสนับสนุนเชิงเทคนิคเพื่อพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถปรับให้เหมาะกับขนาดของปัญหา  ดร.ศิรินทร์ชญา ปรีชาภัฏสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัท SecondMuse กล่าว

“The Incubation Network ให้ความสนใจกับประเทศไทย เนื่องจากเสียงเรียกร้องของประชาชนเพื่อให้มีการแก้ปัญหามลพิษทางทะเลจากขยะพลาสติก และจากการที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการสนับสนุนโครงการด้านความยั่งยืน ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าวทำให้สตาร์ทอัพและผู้พัฒนานวัตกรรมในประเทศไทยมีโอกาสที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของภูมิภาค”

The Incubation Network และพันธมิตรทั้ง 3 องค์กรในประเทศไทยมุ่งหวังที่จะช่วยผลักดันระบบนิเวศด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เช่น Thailand Plastics Circularity Accelerator ซึ่งเป็นโครงการที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคที่ออกแบบเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ได้รับการเลือกให้ร่วมโครงการ Thailand Waste Management & Recycling Academy Program ซึ่งเป็นโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจระยะเวลา 3 เดือนสำหรับธุรกิจที่อยู่ในระยะเริ่มต้น รวมถึงการสร้างเครือข่าย Waste Action Network ระดับประเทศ ทั้งนี้ The Incubation Network จะสนับสนุนเงินทุนและช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สตาร์ทอัพเข้าถึงคำปรึกษาและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

The Incubation Network ช่วยสตาร์ทอัปแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร

The Incubation Network ช่วยสตาร์ทอัปแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร

การเปิดตัวพันธมิตรครั้งนี้ ได้มีการจัดทำรายงานที่ระบุถึงช่องโหว่ของห่วงโซ่คุณค่าในการจัดการขยะของประเทศไทย ซึ่งยังมีโอกาสแก้ไข หากได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนและนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของไทยก่อให้เกิดการรั่วไหลของพลาสติกเกือบร้อยละ 60 ของจำนวนพลาสติกทั้งหมดที่รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม เนื่องจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีอายุการใช้งานสั้น จึงเป็นโอกาสสำหรับการการพัฒนาโซลูชันเพื่อเพิ่มกำลังในการรีไซเคิลขยะ เพิ่มความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล และส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของการรีไซเคิล

รายงานดังกล่าวระบุถึงโอกาส 5 ด้าน เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบระบบ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดของเสียให้ได้มากที่สุด และลดขยะพลาสติกไปพร้อม ๆ กัน โอกาสทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย หนึ่ง คือ การช่วยผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิลให้เข้าถึงความต้องการผลิตภัณฑ์รีไซเคิล สอง คือ การใช้วัสดุที่มีนวัตกรรมช่วยลดการใช้งานพลาสติกผลิตใหม่ สาม คือ การให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานจัดเก็บขยะนอกระบบ สี่ คือ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ ห้า คือ การส่งเสริมให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บขยะมีระบบงานที่สามารถนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล 

The Incubation Network ได้ให้ความช่วยเหลือสตาร์ทอัปมาแล้วกว่า 75 รายในการขยายธุรกิจ ผ่านโครงการบ่มเพาะที่เน้นแก้ปัญหาขยะพลาสติกในแต่ละประเทศ สำหรับตัวอย่างความสำเร็จของโครงการในสิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นการเจาะลึกถึงประเด็นปัญหาเช่น เพราะเหตุใดบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว (Flexible Packaging) ไม่เป็นที่นิยมนำมารีไซเคิลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ วิธีแนะนำหลักการพื้นฐานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่สตาร์ทอัป

สตาร์ทอัปที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Thailand Plastics Circularity Accelerator ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง The Incubation Network และ Alliance to End Plastic Waste สามารถสมัครได้ที่ https://bit.ly/TPCA2021

สมัครเข้าร่วมโครงการ Waste Management & Recycling Academy ได้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 22 ตุลาคม 2564: https://bit.ly/3o3A5u4

สำหรับองค์กรและผู้ลงทุนที่สนใจร่วมโครงการอื่น ๆ ของ The Incubation Network ในประเทศไทยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.incubationnetwork.com

iPhone 13 นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม

Previous article

Metaverse Translucia โลกเสมือนที่เต็มไปด้วยจินตนาการ

Next article

You may also like

More in Life