จรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถใช้งานซ้ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถใช้งานซ้ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศ Hypersonix Launch Systems ในประเทศออสเตรเลียนำเสนอระบบขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กที่สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้และใช้พลังงานไฮโดรเจนพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซพิษอื่น ๆ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทขนส่งอวกาศหลายแห่งอาจละเลยทำให้ไปซ้ำเติมปัญหาสภาพแวดล้อมโดยการปล่อยก๊าซพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจรวด ปัจจุบันการขนส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ประมาณการว่าภายในปี 2030 อาจมีดาวเทียมขนาดเล็กมากกว่า 50,000 ดวง ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศหลังจากเทคโนโลยีการส่งดาวเทียมถูกพัฒนาขึ้นหลายรูปแบบโดยใช้ต้นทุนในการขนส่งที่มีราคาถูกลงและเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ หรือมหาวิทยาลัยสามารถส่งเทคโนโลยีดาวเทียมที่ตัวเองพัฒนาขึ้นสู่อวกาศ จรวด Delta-Velos Orbiter ของบริษัทแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน จรวดท่อนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ขนส่งจรวดท่อนที่สองซึ่งทำหน้าที่บรรทุกและขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่อวกาศ จรวดทั้งสองท่อนถูกออกแบบให้สามารถเดินทางกลับโลกโดยใช้วิธีการร่อนลงจอดคล้ายเครื่องบินในสนามบินเพื่อเติมเชื้อเพลิงและพร้อมใช้งานในภารกิจต่อไป วิธีการดังกล่าวแตกต่างจรวดขนส่งอวกาศแบบเดิมที่ใช้วิธีตกลงไปในทะเลและทำการเก็บกู้ด้วยเรือเพื่อลากจูงเข้าสู่ชายฝั่ง จรวดของบริษัทใช้เครื่องยนต์จรวดแบบสแครมเจ็ท (Scramjet) ซึ่งบริษัทกล่าวว่าเป็นเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและมีการวิจัยพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า ...
Innovation