น้ำมันรั่วในทะเล

น้ำมันรั่วในทะเล กระทบสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ปัญหาล่าสุดของประเทศไทยที่กำลังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุการน้ำมันรั่วในทะเล ซึ่งวันนี้เราจะมาวิเคราะห์กันครับว่า ปัญหาน้ำมันรั่วในทะเล เกิดปัญหาอะไรกันบ้าง และเราต้องสูญเสียอะไรกันบ้าง ต้องมารับชมกันเลยครับ

ในคืนวันที่ 25 มกราคม 2565 ท่อน้ำมันดิบใต้ทะเลบริเวณอ่าวมาบตาพุด จ.ระยอง เกิดการรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเลหรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเลของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ส่งผลให้มีคราบน้ำมันกระจายกลางอ่าวไทย ทำให้เกิดปัญหาอย่างหนักต่อธรรมชาติ

ซึ่งทำให้ผลกระทบจากน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนคราบน้ำมันดิบในสิ่งแวดล้อม

การเกิดน้ำมันรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมทางทะเลจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลา กุ้ง หอย จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากมีการปนเปื้อนของน้ำมันในน้ำในระดับความเข้มข้น 1-3 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นเวลามากกว่า 4 วัน รวมถึงพฤติกรรมการกินอาหารและการอยู่รอดของสัตว์น้ำ การปนเปื้อนของคราบน้ำมันในแหล่งน้ำยังบดบังแสงสว่างไม่ให้ส่องผ่านลงไปในน้ำ เกิดผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช สาหร่ายและพืชในน้ำต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารขั้นพื้นฐานในห่วงโซ่อาหาร

นอกจากสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล การปนเปื้อนคราบน้ำมันบนหาดทรายซึ่งเกิดขึ้น ณ หาดแม่รำพึงในขณะนี้ ก่อให้เกิดความสกปรก มีกลิ่นเหม็น สูญเสียสุนทรียภาพและความงามของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงเศรษฐกิจและรายได้จากการท่องเที่ยวของชุมชนในท้องถิ่น การปนเปื้อนคราบน้ำมันยังเสียหายต่อการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเนื่องจากการปนเปื้อนน้ำมันในเนื้อเยื่อสัตว์น้ำ

ผลกระทบต่อสัตว์น้ำ

สิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศทางทะเล สัตว์ทะเลที่แหวกว่ายในน้ำลึกได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลน้อยลง แต่ภัยพิบัติจากน้ำมันใกล้ชายฝั่งมักจะสร้างความเสียหายให้กับนกชายฝั่งและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณชายทะเลและบนพื้นผิวของมหาสมุทรมากที่สุด และต่อไปนี้คือตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

นก

นกที่ออกหากินตามชายฝั่งอาจมีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากน้ำมันปกคลุมพื้นผิวมหาสมุทร ที่พวกมันกินเข้าไปและน้ำมันที่ไหลซึมอยู่ตามชายหาดที่มันเดินหาอาหาร และรังของมันที่มีคราบน้ำมันไปเกาะ เมื่อนกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำมัน มันจะทำให้ขนนกไร้ประโยชน์ เพราะมันไปทำให้ฉนวนบนขนนกลดประสิทธิภาพลง ความอบอุ่นในร่างกายจึงลดลง ซึ่งเรื่องฉนวนบนขนสัตว์นี้ ใช้ได้กับหล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจนในทะเลด้วย อย่างเช่น นากทะเลและแมวน้ำ ที่มีขนให้ความอบอุ่นเช่นเดียวกัน หากตัวมันมีแต่น้ำมันที่ทำให้ประสิทธิภาพการอบอุ่นร่างกายลดลง พวกมันก็จะตายลงอย่างช้า การการที่ภูมิคุ้มกันตก

ปลา

น้ำมันที่หนากว่าบางชนิดจะจมลงสู่ก้นมหาสมุทร โดยที่พวกปลามักกินเข้าไป น้ำมันที่กินเข้าไปจะไม่ฆ่าพวกมันในทันที แต่จะมีสารพิษสะสมอยู่ในตับและอวัยวะอื่นๆ นานพอที่ชาวประมงจะจับขึ้นมาเพื่อมาเป็นอาหารซีฟู้ดให้กับเรา

ปูหรือหอยที่อาศัยอยู่ในทราย

น้ำมันที่มีความเข้มข้นสูงจะฆ่าปูที่โตเต็มวัย ในขณะที่ปริมาณที่น้อยกว่าอาจเป็นอันตรายต่อทารกและไข่ของพวกมัน สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศชายหาดของเราเพราะ “ทุกคนกินพวกมัน”

และสัตว์อื่นๆ เช่น เต่า โลมา วาฬ แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์เหล่านี้ล้วนได้รับอันตรายการการรั่วไหลของน้ำมัน แม้ว่าพวกมันจะรู้ตัวและหนีไปได้ทัน แต่ก็ยังเสี่ยงอยู่ดี

นอกจากนี้ผลกระทบต่อพืชทะเลนั้นก็สำคัญ เพราะเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ

การรั่วไหลของน้ำมันที่ล่องลอยอยู่เหนือผิวน้ำนั้น ส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและแสงส่องไม่ถึงพืชทะเล ในพื้นที่ทีมีพืชทะเลเติบโตอยู่ รวมไปถึงปะการัง

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยงและชุมชน

ชุมชนและที่พัก ร้านค้าต่างๆจะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียนักท่องเที่ยว หลังเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว คนจะหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าสู้พื้นที่เสี่ยงภัยมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชนเป็นวงกว้าง

อาชีพประมงต้องหยุดชะงัก

หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แน่นอนว่าอาชีพประมงพาณิชย์หรือท้องถิ่นเองก็ตาม จะถูกสั่งห้ามเดินเรือทันที เพื่อลดความเสียหายของอุปกรณ์ทำกินและเพื่อป้องกันการจับสัตว์ที่อาจมีสารปนเปื้อนขนมาบริโภคหรือขายออกไป

ทุกวันนี้มลพิษทางทะเลก็เยอะมากพออยู่แล้ว เช่น ปัญหาขยะพลาสติก ปัญหาการทำประมงเกินขนาดการปล่อยน้ำเสียงลงสู่ทะเล และการก่อสร้างที่พักอาคารริมชายหาด การทำกำแพงกันคลื่น ฯลฯ เท่านี้ทะเลก็แทบไม่ได้หยุดพักในการฟื้นฟูธรรมชาติของตัวมันเองเลย เรื่องราวของน้ำมันรั่ว อาจเป็นอุบัติเหตุที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่นี่คือบทเรียนให้เราต้องระวังมากขึ้น เพื่อไม่ให้มันเกิดอีก พลังงานผิโตรเลียมนั้นยังคงจำเป็นอยู่ในยุคนี้ แต่ยุคหน้าก็หวังว่า เรากับธรรมชาติจะอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญหายไป และอยู่เกื้อหนุนกันอย่างพอดี ก็เพียงพอแล้ว

ซึ่ง กรีนพีซ ประเทศไทย เรียกร้องให้ รัฐบาลไทยทบทวนแผนพลังงานชาติโดยเร่งด่วนเพื่อปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล และยุติแผนการขยายการขุดเจาะน้ำมันหรือก๊าซฟอสซิลซึ่งทำให้วิถีชีวิต สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและชุมชนต้องแบกภาระจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิกฤติสภาพภูมิอากาศ.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก springnews.co.th / thairath.co.th

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

 

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

30 วิธีช่วยโลกได้ง่ายๆ แม้ไม่ได้เป็นฮีโร่

Previous article

Metaverse เทคโนโลยีโลกเสมือนเชื่อมโยงโลกจริงสู่โลกที่ยั่งยืน

Next article

You may also like

More in TOP STORIES