ปลาจากพืช เขย่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
InnovationTOP STORIESUncategorized

ปลาจากพืช เขย่าอุตสาหกรรมอาหารทะเล มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

0

รสชาติของเนื้อปลาเทียมสำหรับตลาดโปรตีนทางเลือก เมื่อ 5 ถึง 10 ปีก่อน อาจดูห่างไกลและแตกต่างจากรสชาติของเนื้อปลาแท้ๆ  หรือเป็นแค่อาหารสำหรับคนที่รับประทานมังสวิรัติเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของตลาดโปรตีนทางเลือก เพราะส่วนมากจะเน้นไปที่เนื้อเทียม แต่เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทสตาร์ทอัป Mimic Seafood จากเมืองมาดริด ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติและรูปร่างหน้าตาเหมือนปลาทูน่าขึ้นมาจากมะเขือเทศพันธุ์พิเศษที่ปลูกในสเปนตอนใต้ เจาะกลุ่มตลาด plant-based โปรตีน โดยออกแบบรูปร่างและขนาดเหมือนซูชิทูน่า นับเป็นหนึ่งในกลุ่มนวัตกรรมอาหารที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

มะเขือเทศ Finggerino นำมาใช้ทำทูน่าเทียมโดยบริษัท Mimic Seafood

มะเขือเทศ Finggerino นำมาใช้ทำทูน่าเทียมโดยบริษัท Mimic Seafood

ข้อมูลจาก Good Food Institute องค์กรไม่แสวงหากำไรระดับนานาชาติที่ผลักดันให้มีโปรตีนที่ยั่งยืนมากขึ้น ระบุว่า ยอดขายอาหารทะเลจากพืชในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 23% เป็น 12 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 เมื่อเทียบกับตลาดอาหารทะเลแบบดั้งเดิมที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งมีมูลค่า 70 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 มากเท่ากับในช่วงสองปีที่ผ่านมารวมกัน

ข้อมูลจาก Good Food Institute

ข้อมูลจาก Good Food Institute

ตลอดจนความกังวลเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อแดง ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการบริโภคเนื้อปลาซึ่งถึงแม้จะดีต่อร่างกาย แต่ก็มีความกังวลเรื่องโลหะหนัก และไมโครพลาสติก ทำให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงบทบาทของโปรตีนทางเลือก ในตลาดนี้ เนื้อปลาเทียมยังคงเป็นตลาดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตลาดเนื้อสัตว์จากพืชซึ่งมียอดขายพุ่งสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563  ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ ทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ ไม่ว่าจะเป็น  Tyson Foods Inc. ยักษ์ใหญ่ในวงการเนื้อสัตว์ เข้าซื้อหุ้นใน New Wave Foods ผู้ผลิตกุ้งจากพืชในปี 2019 เกือบสองปีก่อนที่ Tyson จะปล่อยแฮมเบอร์เกอร์มังสวิรัติตัวแรก ในประเทศไทยเองเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Chicken of the Sea ได้เปิดตัว OMG Meat ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากพืช รวมถึงเค้กปูและเบอร์เกอร์ปลา โดยมีแผนที่จะผลิตกุ้งมังสวิรัติในปลายปีนี้  ในขณะที่ Ikea ของสวีเดนขายคาเวียร์มังสวิรัติ ซึ่งได้มาจากสาหร่ายเคลป์ 

แต่เนื่องจากอาหารทะเลอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งเป็นโปรตีนทางเลือกที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแทนเนื้อสัตว์ บริษัทผู้ผลิตอาหารทะเลทางเลือกจึงต้องแน่ใจว่าสารอาหารชนิดเดียวกันจะมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืช เช่นเดียวกับปลาแซลมอนเทียมของ Odontella ที่ยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เหมือนในปลาทั่วไปอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ผลิตปลาเทียมยังเสี่ยงต่อการถูกคัดค้านจากกลุ่มการค้าแบบดั้งเดิมที่ไม่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์มังสวิรัติมีป้ายกำกับว่า “ทูน่า” หรือ “ปลาแซลมอน” ซึ่งยังมีการถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์เทียมสามารถติดฉลากเนื้อสัตว์ได้หรือไม่

หากอาหารทะเลจากพืชรักษาอัตราการเติบโตแบบนี้ไว้ได้ ก็สามารถตามทันส่วนแบ่งของเนื้อปลอมในตลาดทั่วไปภายในสิบปีข้างหน้าได้ Lamy จากสถาบัน Good Food Institute กล่าว  “หากมองภาพรวมของผลิตภัณฑ์ทางเลือกในตอนนี้เทียบกับเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ถือเป็นอะไรที่น่าสนใจและต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง”

Source: Bloomberg

 

 

CPF ต่อยอดฟาร์มรักษ์โลก หนุนใช้พลังงานทดแทน “ไบโอแก๊ส-โซลาร์ฟาร์ม”

Previous article

เทียนหอมกลิ่น meatballs จาก IKEA

Next article

You may also like

More in Innovation