ไทยสมายล์ สายการบินแบบฟูลเซอร์วิส ตอกย้ำความเป็นสายการบินที่มุ่งมั่นสร้างคุณค่าสู่ความยั่งยืน สานต่อนโยบาย Eco-efficiency ร่วมลดการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง เปิดตัว Thaismile ขวดน้ำ label-free

thaismile ขวดน้ำ label-free

ล่าสุดได้ปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ขวดน้ำที่ให้บริการในชั้น Smile Class บนเที่ยวบินของไทยสมายล์ เป็นแบบไร้ฉลาก (Label-Free bottle) ที่ถูกออกแบบใหม่ด้วยดีไซน์เรียบง่าย เป็นขวดน้ำ PET แบบใสไม่ผสมสี รูปทรงแปดเหลี่ยมขนาด 350 มล. ไม่มีฉลากพลาสติก PVC สามารถประหยัดพื้นที่และเชื้อเพลิงในกระบวนการจัดเก็บและการขนส่ง

ยิ่งไปกว่านั้นสามารถนำเข้าสู่กระบวนการ Recycle และ Upcycling ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการบดคัดแยกฉลาก จึงสามารถประหยัดพลังงานและลดการปล่อย Carbon Footprint ได้ตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการขนส่ง จนไปถึงกระกวนการ Upcycling เพื่อสร้างให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆต่อไป

นางชาริตา ลีลายุทธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด เปิดเผยว่า “เรามองว่า บรรจุภัณฑ์ (Packaging) คือหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการด้านขยะ การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์น้ำดื่มครั้งนี้ จึงนับเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยลดการใช้พลาสติกที่ห่อหุ้มขวดน้ำ เฉลี่ย 4,276,800 ขวด ต่อปี โดยขวดน้ำดีไซน์เดิมนั้นไทยสมายล์ได้มีการคัดแยกบนเที่ยวบินและนำเข้าสู่กระบวนการ upcycling เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

Thaismile ขวดน้ำ label-free

ซึ่งการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นแบบไร้ฉลาก (Label-Free) ในครั้งนี้ จะช่วยลดทอนกระบวนการคัดแยกและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการ Upcycling (การแปลงวัสดุเหลือใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่)

thaismile ขวดน้ำ label-free

จึงนับเป็นหนึ่งใน Milestones ของไทยสมายล์ ที่ผ่านการระดมความคิดจากทีมงานเพื่อให้ทุกมิติในขั้นตอนการคัดแยกและแปรรูปนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งบรรจุภัณฑ์จะมีต้องมีคุณสมบัติที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการ Upcycling ได้ง่าย ลดการใช้พลังงานและรวมถึงมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

“ไทยสมายล์ตั้งเป้าเป็นหนึ่งในสายการบินสีเขียว โดยตลอดปีที่ผ่านมา เราได้วางแผนบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตอาหารเพื่อลดการสูญเสียทางด้านทรัพยากร (Food Waste Management) ร่วมกับการบินไทยมาโดยตลอด เพื่อลดการสูญเสียด้านทรัพยากรอาหารให้มากที่สุด รวมถึงบริหารจัดการด้านการบินในการใช้น้ำมันให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไปแล้วกว่า 1,130 ตัน ต่อปี ” นางชาริตา กล่าวเสริม

thaismile ขวดน้ำ label-free

อย่างไรก็ตาม ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไทยสมายล์ได้เริ่มดำเนินการด้านสิ่งแวดแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปรับเปลี่ยนรูปแบบแก้วพลาสติกที่ให้บริการบนเครื่องบินเป็นแก้วที่ผลิตจากชานอ้อย ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ รวมถึงการคัดแยกขยะพลาสติกประเภท PET ตั้งแต่บนเครื่องบิน

โดยให้พนักงานต้อนรับฯ และผู้โดยสารร่วมกันคัดแยกขวดน้ำดื่มเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการ Upcycling และในปี 2020 ได้ออกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากกระบวนการ Upcycling มาจำหน่าย อาทิ เสื้อยืดคอกลม (ผลิตจากเส้นใยที่มาจากพลาสติก PET ที่ใช้แล้ว 35% ผสม Cotton 65%), กระเป๋าผ้าสะพายข้าง (ผลิตจากเส้นใยที่มาจากพลาสติก PET ที่ใช้แล้ว100%) และผ้ากันเปื้อนของพนักงานต้อนรับฯ (ผลิตจากเส้นใยพลาสติก PET ที่ใช้แล้ว 100%) เป็นต้น

ORI ขึ้นทำเนียบหุ้นยั่งยืน THSI หลังปรับตัวแกร่งฝ่า COVID-19

Previous article

ทรัพยากรธรรมชาติ มีความสําคัญต่อโลกอย่างไร

Next article

You may also like

More in Bitesize