ปีนี้ทั่วโลกยังต้องอยู่กับความท้าทายหลายด้าน ตั้งแต่ราคาพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่พุ่งสูงขึ้นจากปมปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ยุโรปต้องหาพลังงานทดแทน และหันมาพึ่งพาการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา สหรัฐได้มีการผ่านร่างกฎหมาย Inflation Reduction Act มูลค่ากว่า 369,000 ล้านบาท (ราว 14 ล้านล้านบาท*) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานสะอาดและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
นอกจากนี้การประชุมระดับโลก COP 26 ของสหประชาชาติครั้งล่าสุดยังได้ออกมาย้ำว่าทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาลและเอกชนทั่วโลกควรมีส่วนร่วมในการช่วยอัดฉีดเม็ดเงินหลักล้านล้านดอลลาร์สหรัฐออกมาใช้เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ตามบทบาทของตนเอง และบริษัทต่างๆ ต้องหันมาลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนและทรัพยากรหมุนเวียนให้มากขึ้น
จากการผลักดันเหล่านี้ทำให้การลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ยิ่งได้รับความสนใจและกลายเป็นโอกาสในการลงทุนสำหรับนักลงทุนระยะยาว แล้วตอนนี้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้เติบโตมากแค่ไหน
สำนักข่าว Bloomberg ได้ระบุว่าในปี 2021 มีเม็ดเงินลงทุนในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) สู่พลังงานที่ยั่งยืน สูงถึง 7.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 28 ล้านล้านบาท*) ซึ่งเพิ่มขึ้น 27% จากปีก่อนหน้า
การลงทุนในกลุ่ม ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดยังมีอีกหลายเทคโนโลยีที่โดดเด่น ได้แก่
พลังงานสะอาด (Clean energy) เป็นการใช้แหล่งพลังงานที่ไม่สร้างผลกระทบต่อโลก เช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, Solar-cell ฯลฯ ที่สำคัญเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในปัจจุบันมีราคาถูกลง คนส่วนใหญ่จึงเข้าถึงได้มากขึ้น ด้าน International Energy Agency (IEA) คาดการณ์ว่า ปี 2021 ธุรกิจนี้จะเติบโตเกือบ 40%
เทคโนโลยีการจัดการน้ำ (Clean water) เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดย UNESCO คาดว่ามีประชากรมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเจอกับสถานการณ์ Water Stress (ความต้องการน้ำมีมากกว่าปริมาณน้ำที่มี) ขณะที่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อยยังมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ความต้องการน้ำสะอาดที่ยังเพิ่มขึ้นนี้ เราจึงเห็นแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วของกลุ่มธุรกิจด้านการจัดการน้ำและการบำบัดน้ำเสีย โดยปี 2020 มูลค่าตลาดนี้สูงถึง 61,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 2.34 ล้านล้านบาท*) และคาดว่าในช่วงปี 2021-2028 จะมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 4%
ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage) และ Smart Grid ตัวช่วยการจัดการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด อย่างกรณีในสหรัฐและออสเตรเลียที่เคยเจอปัญหาไฟฟ้าดับทั่วทั้งเมืองจากพายุและภัยธรรมชาติ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ระบบการบริหารจัดการไฟฟ้าดีขึ้น
เมื่อเกิดเหตุไฟดับเป็นวงกว้างจะช่วยให้ไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้เร็วขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าด้วย (EV) ทั้งนี้ คาดว่าเทคโนโลยี Smart Grid จะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ โดยคาดว่าปี 2026 ตลาดขยายตัวถึง 55,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.12 ล้านล้านบาท*)
การเงินสีเขียว (Green financing) เมื่อการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมต้องใช้เงินมหาศาล หลายบริษัทจึงหันมาใช้การระดมทุนแบบ Green Financing (การระดมเงินทุนเพื่อโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
เช่น Green Bond หรือ ตราสารหนี้สีเขียว, Sustainability-linked loans หรือ เงินกู้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ฯลฯ โดยในปี 2021 มีมูลค่าสูงถึง 809,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 30.76 ล้านล้านบาท*)
เทคโนโลยีบำบัดขยะ (Waste Management) ทาง World Bank เคยคาดการณ์ไว้ว่า ปี 2030 โลกจะมีปริมาณขยะถึงปีละ 2,590 ล้านตัน และในปี 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 3,400 ล้านตัน
ซึ่งอาจสร้างก๊าซมีเทนและทำให้สภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ทว่าจากขยะก็อาจกลายเป็นทองคำได้ เพราะปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่อการบำบัดและกำจัดของเสีย ไปจนถึงการผลิตพลังงานจากขยะ (Waste-to-energy technologies)
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หุ้นของบริษัทใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีบำบัดขยะ สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีได้ดีเมื่อเทียบกับดัชนี S&P 500 ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 17% ต่อปี เช่น บริษัท Waste Connections (WCN) อยู่ที่ 22%, Wates Management (WM) อยู่ที่ 20% และ Republic Services (RSG) อยู่ที่ 19% จะเห็นว่าเทคโนโลยีเพื่อโลกที่ยั่งยืนมีความหลากหลายและมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
โดย StashAway ออกแบบพอร์ตการลงทุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงศักยภาพการเติบโตของกลุ่มธุรกิจนี้ผ่าน Thematic Portfolio โดยทั้ง 5 เทคโนโลยีที่เราพูดถึงนี้มีอยู่ในธีม Environment and CleanTech ซึ่งกระจายการลงทุนผ่าน ETF จากบริษัทจัดการกองทุนระดับโลก ทำให้เราสามารถเข้าถึงบริษัทที่มีศักยภาพจำนวนมากและช่วยลดความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละบริษัท
แม้การลงทุนตามธีมอาจมีความเสี่ยงสูงด้านการกระจุกตัว แต่พอร์ตแบบ Thematic ของเรามีการเพิ่มสัดส่วน ‘สินทรัพย์ปรับสมดุล’ (Balancing Asset) ที่ลงทุนในตราสารหนี้ ทองคำ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยบริหารความเสี่ยงของพอร์ตอย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งมีเทคโนโลยี ERAA™ ที่จะวิเคราะห์ข้อมูลและคอยปรับพอร์ตให้เหมาะกับแต่ละภาวะเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ เพื่อหาโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้กับนักลงทุนในระยะยาวไปพร้อมๆ กับช่วยสร้างโลกให้สะอาดขึ้นอย่างยั่งยืน
หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน *อัตราแลกเปลี่ยนที่ 38.00 บาทต่อดอลลาร์
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก bangkokbiznews