แน่นอนว่า เทศกาลฮาโลวีน คือเทศกาลปล่อยผี ที่ผู้คนก็ไม่ได้กลัวผีของเทศกาลนี้กันสักเท่าไหร่หรอก ตรงข้ามเลยต่างหาก ผู้คนสนุกสนานกับเทศกาลปล่อยผีนี้ด้วยซ้ำ

เทศกาลฮาโลวีนเป็นเทศกาลจากฝั่งตะวันที่แพร่หลายไปทั่วโลก ฮิตฮอตพอ ๆ กับเทศกาลคริสต์มาส นั่นหมายความว่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากพอสมควร โดยเฉพาะประเทศฝั่งตะวันตก นอกเหนือจากเรื่องเล่าขานตำนานฮาโลวีน เรื่องผีสาง เรื่องเจ้าหญิงเจ้าชายอละอีกสารพัดกิจกรรมของเทศกาลนี้แล้ว สิ่งที่น่าสยดสยองไม่แพ้กัน คือเรื่องของสิ่งแวดล้อม

ขยะใน เทศกาลฮาโลวีน เยอะขนาดไหน

เทศกาลฮาโลวีน คนสนุกแต่สิ่งแวดล้อมไม่สนุกด้วย กลับเพิ่มขยะให้โลก

กลุ่มสิ่งแวดล้อมต่างประเทศ นามว่า Hubbub ได้ทำการศึกษาเรื่องขยะในวันฮาโลวีนและพบว่า 83% ของเครื่องแต่งกายชุดแฟนซีทำมาจากพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ยังมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลประมาณ 2,000 ตัน

บางวัสดุที่ใช้ในเครื่องแต่งกาย อย่างโพลีเมอร์มีมากกว่า 63% และเสื้อผ้าที่ทำจากโพลีเอสเตอร์นั้นใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 20-200 ปี ย่อยสลายยากและรีไซเคิลไม่ได้ ซึ่งถูกพบในชุดฮาโลวีนราคาแพงถึง 80% และส่วนใหญ่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง กลายเป็น Fast Fashion ในท้ายที่สุด

นอกจากชุดแฟนซีแล้ว ก็มีเครื่องประดับร่างกายและอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่มากมายถึงผลิตออกมาเพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้นของเทศกาล เหมือนเทศกาลคริสต์มาส ทุกคนออกมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อผีซื้อฟักทองกลับบ้าน ซื้อขนมลูกอมสารพัดอย่างและซื้อใยแมงมุมกับเศษผ้าต่าง ๆ ไปแต่งบ้านของตัวเองให้หลอน ซึ่งของเหล่านี้ล้วนทำมาจากพลาสติกซะเป็นส่วนใหญ่

สำนักข่างต่างประเทศรายงาน ยอดการจับจ่ายในสหรัฐฯพบว่า หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ปีนี้คึกักเป็นพิเศษ ผู้คนออกมาจับจ่ายเพื่อเฉลิมฉลองกันอย่างบ้าคลั่ง และปีนี้ได้สร้างเม็ดเงินมากกว่าหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า พลาสติกถูกซื้อขายไปจำนวนมากเช่นเดียวกัน

ฟักทองที่แทบจะเป็นสัญลักษณ์ประจำเทศกาลที่แทบมีอยู่ในทุก ๆ สถานที่ที่ขับรถผ่าน เพราะตำนาน Jack 0 Lantern ทำให้ทุกวันนี้มีฟาร์มฟักทองอยู่เต็มไปหมด บ้างซื้อไปตกแต่ง บ้างซื้อไปทำอาหาร บ้างซื้อไปขว้างปาเล่น ตามจุดประสงค์ที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ตามมาคือ ขยะอาหาร

ฟักทองที่ถูกนำไปแกะสลักและวางไฟไว้ด้านในสำหรับตกแต่งประดับประดาสถานที่ หลังเทศกาลผ่านไป พวกมันมักจะไปโผล่ที่หลุมฝังกลบแทน และใช่ แม้ฟักทองจะเป็นพืชที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ แต่การที่ฟักทองไปจบในหลุมฝังกลบ ไม่ได้นำไปทำเป็นปุ๋ยตามกระลวนการหรือไปเป็นอาหารให้กับสัตว์ ก็ย่อมต้องมีการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างแน่นอน และเกือบทุกบ้านในสหรัฐฯทำแบบนั้น

แล้วจะแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้อย่างไรดีล่ะ?

สำหรับเครื่องแต่งกายแฟนซีและเครื่องประดับร่างกาย หรือของตกแต่งอื่น ๆ หากไม่ต้องการแล้ว สามารถนำไปบริจาคให้กับเด็ก ๆ ที่มีความต้องการใช้ชุดเหล่านี้ประกอบการเรียนการสนได้ หรือสำหรับโรงละคร เพื่อให้สามารถใช้งานชุดเหล่านั้นได้อย่างยืดหยุ่นและยาวนานเหมาะสมกับการใช้งาน

เทศกาลฮาโลวีน คนสนุกแต่สิ่งแวดล้อมไม่สนุกด้วย กลับเพิ่มขยะให้โลก

สำหรับฟักทอง หากใช้ประดับตกแต่งบ้านเสร็จแล้ว เรารู้ว่าฟักทองจะย่อยสลายอยู่แล้ว ทำไมไม่นำไปทำเป็นอาหารล่ะ ไม่ว่าจะขนมหรืออาหารคาว ฟักทองก็ทำได้หมดเลย แต่ถ้าทำมาเยอะเกินไปก็แจกจ่ายไปให้กับคนรอบข้างได้

และที่สำคัญเวลาเข้าร่วมเทศกาลเราอยากให้คุณพกแก้วน้ำ พกถุงผ้าไปเองบ่อย ๆ เพราะเชื่อว่า งานเทศกาลหลายงานมักแจกแก้วของถุงที่ทำมาจากพลาสติก ซึ่งมันจะเป็นการสร้างขยะให้จัดการยากขึ้นไปอีก เที่ยวให้สนุก ดูแลสิ่งแวดล้อมกันด้วยนะ

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก springnews

เจาะอนาคตต้นแบบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสุดเท่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากนิสสันในงาน Japan Mobility Show 2023

Previous article

ทำความรู้จัก Zero Waste

Next article

You may also like

More in Bitesize