การรีไซเคิล เป็นวิธีแก้ปัญหาขยะที่แพร่หลาย แต่รายงานวิจัยต่างประเทศได้ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจ พวกเขาพบว่า การรีไซเคิลไม่ได้รักษ์โลก แต่สร้างไมโครพลาสติกจำนวนมากแทน

เป็นอีกข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรีไซเคิล คนรักโลกหลายกลุ่มพยายามช่วยกันหาทางออกเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การช่วยกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอีกมากมายสารพัดวิธี

ในภาคอุตสาหกรรม ได้รับทางเลือกสำหรับทางออกว่า การรีไซเคิลพลาสติกคือกุญแจสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมันก็ทำให้วิธีการนี้แพร่หลายมากขึ้น ในฐานะวิธีการขายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกลุ่มธุรกิจ

แต่น่าเสียดาย ที่สิ่งที่เราเชื่อมั่นมาหลายปีว่าช่วยโลกได้ กลับมีข้อมูลเผยมาใหม่ว่า มันอาจไม่ได้รักษ์โลกขนาดนั้น แถมยังสร้างมลพิษให้กับโลกอย่างที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน

การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Hazardous Meterial Advances ชี้ให้เห็นว่า โรงงานรีไซเคิลปล่อยไมโครพลาสติกมากถึง 2,933 เมตริกตันต่อปี แต่หลังจากนั้นก็มีนวัตกรรมการกรองมาช่วยเสริมทำให้ลดเหลือ 1,366 เมตริกตัน แต่นั่นก็ยังเป็นจำนวนที่มากอยู่ดี

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ได้เก็บตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานรีไซเคิลที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร และพบว่า โรงงานดังกล่าวได้ปล่อยไมโครพลาสติกปนมากับน้ำเสีย ประมาณ 13% ของพลาสติกที่ผ่านมากระบวนการรีไซเคิล

พลาสติก สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และทิ้งในสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหลียวแล และกำลังกลับมาทำร้ายมนุษย์อีกครั้งด้วยสิ่งที่ชื่อว่า “ไมโครพลาสติก” มันอยู่ใกล้เรามากกว่าที่คิด

ไมโครพลาสติก คือ พลาสติกขนาดเล็ก ที่แตกตัวออกมาจากพลาสติกขนาดใหญ่ มีขนาดเล็กมาก ๆ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 มิลลิเมตร หรือมนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ส่วนใหญ่มันมาจากการอุปโภคพลาสติกของเราในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ ถุงพลาสติก หลอด และอีกมากมายที่ทำมาจากพลาสติกประเภทต่าง ๆ โดยแตกหรือผุกร่อนออกมาจนกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

มนุษย์เราไม่มีใครอยากกินพลาสติก เพราะรู้กันดีอยู่แล้วว่ามันกินไม่ได้ เพราะการย่อยสลายของมันยาวนานเกินไป หากอยู่ในกระเพาะของเราคงไม่ดีแน่ ๆ และก็ไม่ควรไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

แต่ตอนนี้สิ่งที่เรากลัวได้เกิดขึ้นแล้ว งานวิจัยทั่วโลกได้ค้นพบไมโครพลาสติกรอบตัวมนุษย์ ซึ่งมันใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด และไม่เพียงแค่ใกล้เท่านั้น มันได้มาอยู่ภายในตัวของเราแล้วด้วย โดยที่เราไม่รู้ตัว 

ไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม

การค้นพบไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม ถูกเผยแพร่ข้อมูลวิจัยผ่าน Int J Environ Res Public Health เมื่อปี 2022 โดยงานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า ยุโรปมีการค้นพบไมโครพลาสติกในน้ำประปาและน้ำดื่มบรรจุขวด โดยพบในขวดน้ำดื่มมากกว่าน้ำประปา โดยเฉพาะในขวดประเภท PET และขวดแก้วที่นำกลับมาใช้ใหม่ก็พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์

ไมโครพลาสติกในถุงน้ำชา

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ผ่าน Environmental Science & Technology เมื่อปี 2019 เผยว่า ถุงชาส่วนใหญ่ที่ยังคงทำจากพลาสติก โดยด้านในบรรจุใบชาลงไป จากการทดสอบถุงชาพลาสติก 4 แบรนด์ในแคนาดา ทีมวิจัยได้ตัดถุง นำใบชาออก นำถุงชาเปล่าไปล้างให้สะอาดและนำไปต้มในน้ำ 1 แก้วด้วยอุณหภูมิชงชาทั่วไป

ลพบว่า มีอนุภาคพลาสติกจำนวนมากมายมหาศาลตั้งแต่ระดับไมโครไปจนถึงนาโน รวมกันหลักพันล้านอนุภาคลอยอยู่เต็มไปหมด แม้ว่ามันจะไปอยู่ในท้องของเรา และเราอาจไม่เป็นกังวลมากเพราะไม่เป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรงทันที แต่น่าห่วงคือสิ่งแวดล้อมที่เราทิ้งถุงชาลงไปต่างหาก

ไมโครพลาสติกในอากาศ

ในน้ำว่าน่ากลัวแล้ว เจอในอากาศที่เราหายใจเข้าไปก็น่ากลัวไม่แพ้กัน งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Marine Pollution Bulletin ปี 2016 บอกว่า การทดลองตรวจหาไมโครพลาสติกในอากาศ ณ กรุงปารีส ทั้งในเมืองและนอกเมือง ผลพบว่า ค้นพบไมโครพลาสติกราว ๆ 3-10 ตันในชั้นบรรยากาศ

อย่างที่ทราบกันดีว่า ไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การที่พลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ถูกเสียดสี ถูกบี้ ถูกบด ก็อาจจะเล็กจนสามารถปะปนไปกับฝุ่นละอองอากาศได้และพัดปลิวไปในอากาศที่เราใช้หายใจกันอยู่ทุกวันนี้

ไมโครพลาสติกในผัก ผลไม้ และอาหารทะเล

นักวิจัยจาก University of Catania ในอิตาลี ค้นพบเศษชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กในผักผลไม้บางชนิด เช่น แครอท ผักกาดหอม แอปเปิ้ลและลูกแพร์ โดยเฉลี่ยแล้ว ผักผลไม้เหล่านี้พบไมโครพลาสติกในปริมาณเฉลี่ยมากกว่า 100,000 ชิ้น ต่อผักผลไม้ 1 กรัมเลยทีเดียว

ไมโครพลาสติกเหล่านี้มีความสามารถในการแทรกซึมเข้าไปในรากของพืชผลต่างๆได้ จึงทำให้เป็นแหล่งสะสมไมโครพลาสติกจากน้ำและดินที่ปนเปื้อนอยู่แล้ว

ในอาหารทะเล ทะเลมีการปนเปื้อนขยะพลาสติกมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วในปัจจุบัน สัตว์น้ำเกือบทุกตัวที่เราบริโภค มีการทานขยะพลาสติกเข้าไป และเราก็ได้จับพวกมันขึ้นมาทานอีกต่อหนึ่ง แม้ว่าจะล้างให้สะอาดแค่ไหน ก็ยังคงปนเปื้อน

ไมโครพลาสติกในร่างกาย

พบไมโครพลาสติกในเลือด งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environment International ในปี 2022 บอกว่า ทีมวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทดสอบเลือดจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่ง โดยเกือบ 80% ของกลุ่มตัวอย่าง พบอนุภาคไมโครพลาสติกในกระแสเลือด โดยส่วนมากเป็นพลาสติกประเภท PET

พบไมโครพลาสติกในสมอง งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Nanomaterials ปี 2023 ค้นพบว่า ไมโครพลาสติกสามารถเข้าถึงสมองได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเข้าสู่ร่างกาย ในความเป็นจริง การทดลองนี้เกิดขึ้นกับหนู สัตว์ทดลองยอดฮิตของมนุษย์

พวกเขาผสมไมโครพลาสติกลงไปในอาหารการกินของพวกมันพร้อมกับทำให้ไมโครพลาสติกที่ผสมลงไปนั้น สามารถเรืองแสงได้ และหลังจากนั้นก็ใช้เครื่องสแกนและแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และเราพบว่าไมโครพลาสติกเหล่านั้นก็เคลื่อนไหวเข้าสู่สมองอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงผ่านทางเลือด

พบไมโครพลาสติกในปอด ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลง Science of The Total Environment ปี 2022 อธิบายว่า มีการค้นพบไมโครพลาสติกลึกลงไปในเนื้อเยื่อปอดของมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นครั้งแรก โดยได้ทำการทดลองในปอดผู้ป่วย 13 ตัวอย่าง และผลคือ 11 ตัวอย่างปอด พบไมโครพลาสติกประเภท PET

พบไมโครพลาสติกน้ำนมแม่ เรื่องนี่น่ากลัวมาก ๆ สำหรับอนาคตประชากรมนุษย์ นักวิทย์ได้เผยบทความลงวารสาร Journal Polymers เมื่อปี 2022 โดยเผยว่า ได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างนมแม่จากกลุ่มตัวอย่างคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง จำนวน 34 คนในกรุงโรม ซึ่งเป็นตัวอย่างเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากคลอด พบว่า มีไมโครพลาสติกปนอยู่ในตัวอย่าง 26 คน หรือคิดเป็น 76%

ซึ่งในช่วงระหว่างการเก็บตัวอย่างงานวิจัยมีการจดบันทึกอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติก รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางสุขอนามัยส่วนบุคลที่ผลิตมาจากพลาสติกเช่นเดียวกันแต่ไม่พบความเชื่อมโยงกับไมโครพลาสติกที่ตรวจพบในน้ำนมแม่ จึงทำให้ตระหนักได้ว่ามีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราอย่างแพร่หลาย จนถึงในระดับที่ไม่ว่าจะสัมผัสใดของมนุษย์ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยง

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก springnews

ครั้งแรกของโลก! ลอยกระทงดิจิทัล รักษาประเพณีควบคู่รักษ์สิ่งแวดล้อม

Previous article

เปิดตัวศูนย์การค้ารักษ์โลก ‘เซ็นทรัล เวสต์วิลล์’ ต้นแบบโลว์คาร์บอนแห่งแรก

Next article

You may also like

More in Bitesize