ลฤก พวงหรีดเสื่อ

‘พวงหรีดเสื่อ’ ลฤก พวงหรีดที่รักษ์โลกจนสาระสุดท้ายของชีวิต เปิดไอเดียที่ทำให้เราระลึกถึงคนตายแบบลดขยะให้เป็นศูนย์

ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ไทยมีการสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยมีปริมาณขยะพลาสติก 4,796,494 ตัน/ปี หรือประมาณ 69.54 กิโลกรัม/ปี/คน และมีสัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ปริมาณพลาสติกในประเทศไทย แบ่งเป็นประเภทถุงพลาสติก 1.11 ล้านตัน ขวดพลาสติก 0.40 ล้านตัน แก้ว กล่อง และถาดพลาสติก 0.23 ล้านตันปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดของเสียจำนวนมาก และส่งผลให้เกิดปัญหาโลกร้อนที่เลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบันเราได้เห็นความพยายามที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่เริ่มกันมาสนใจกับการลดปริมาณขยะจากกระบวนการผลิต และการนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ซ้ำมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ Packaging หรือการลดขยะจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ ดังนั้นการหันมาลดขยะเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ในการขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างดี

หลายคนคงเคยได้ยินพวงหรีดกระดาษแบบย่อยสลายได้ แต่รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยยังมีการทำ “พวงหรีดเสื่อ” เพื่อระลึกถึงคนที่จากไปแบบทำร้ายโลกใบนี้ นอกจากจะได้ส่งคนตายไปในภพภูมิที่ดีแล้วยังสามารถรับเสื่อกลับมาให้ต่อได้คล้ายๆกับพวงหรีดพัดลม ที่เราเห็นกันตามงานศพแต่ความพิเศษของ “พวงหรีดเสื่อ” เป็นพวงหรีดที่มีความตั้งใจว่าจะไม่สร้างขยะให้กับโลกแบบ 100%

นางสาวนนทิกานต์ อัศรัสกร หรือ แป้ง เจ้าของไอเดีย “พวงหรีดเสื่อ” ลฤก ผู้เริ่มต้นการทำพวงหรีดรักษ์โลก เพราะไม่ต้องการให้ธุรกิจเสื่อพลาสติกของครอบครัวที่ดำเนินการมากว่า 50 ปี กลายเป็นธุรกิจ Toxic  กับสังคมอีกต่อไป โดยเธอเล่าถึงแนวคิดและที่มากว่าจะมาเป็นพวงหรีดเสื่อไว้กับเว็บไซต์ SCG Circular way  ว่า ครอบครัวทำธุรกิจเสื่อพลาสติกสานมานานกว่า 50 ปี ตัวเองเป็นรุ่นที่ 3 ที่เข้ามาทำธุรกิจนี้ และด้วยความที่เห็นว่าเสื่อพลาสติกเป็นของที่อยู่คู่คนไทยมานาน และอยากจะเปลี่ยนการทำธุรกิจพลาสติกที่สร้างขยะตกค้างค่อนข้างมาก ให้กลายมาเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ด้วยการใช้พลาสติกรีไซเคิล 100% ในการผลิตเสื่อตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นจึงได้เข้ามาต่อยอดธุรกิจครอบครัว เพราะเห็นว่าปัจจุบันคนเริ่มใช้เสื่อน้อยลง เลยเกิดไอเดียนำเสื่อธรรมดามาปรับรูปแบบสีสันลวดลายให้ทันสมัย แต่หลังจากที่เธอได้ไปงานศพเห็นพวงหรีดพัดลม จึงเห็นข้อดีว่าพวงหรีดพัดลมมันรักสิ่งแวดล้อมกว่าพวงหรีดดอกไม้ มันไม่เป็นขยะ เอาไปใช้งานต่อได้ เลยคิดว่าจริงๆ เสื่อเป็นของที่ใช้ในวัดอยู่แล้ว เราสามารถนำมาออกแบบเป็น “พวงหรีดเสื่อ” ได้เหมือนกัน

ไอเดียทั้งหมดได้คิดมาจาก แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy  เพื่อลดขยะอุตสาหกรรม และใช้ประโยชน์กับวัสดุทั้งหมดให้ได้มากที่สุด  การใช้งานทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดคือหัวใจสำคัญที่ช่วยลดปริมาณขยะปลายทางที่นำไปสู่การกำจัด เช่นเดียวกันกับพวงหรีด หนึ่งในของที่มีความจำเป็นทางจิตใจสำหรับระลึกถึงคนที่เรารักแม้ในวันที่จากไป หากแต่ภายหลังการใช้งานหรือหลังจากดอกไม้เหี่ยวแห้งลงพวงหรีดก็แปรสภาพกลายเป็นขยะหลากหลายประเภท ทั้งดอกไม้ ฟาง และโครงไม้  ลฤก เป็นต้น นอกจากนี้เรายังนำรายได้จากการจำหน่ายพวงหรีดโดยจะหักเงิน 100 บาทต่อ 1 พวง เพื่อนำเงินดังกล่าวมอบให้กับมูลนิธิเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ “พวงหรีดเสื่อ” ลฤก ประกอบด้วย เสื่อ 1 ผืน และอาสนะ 1 ชิ้น จะตกแต่งด้วยดอกไม้ วัสดุที่ใช้ทำเสื่อและหมอนทำจากพลาสติกรีไซเคิล 100% และเป็นพวงหรีดที่สามารถให้วัดนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้  เราดำเนินธุรกิจโดยวางแนวทางการลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero waste) และมาร่วมกับบูติคนิวซิตี้ ทำ “ระลึกรักษ์” ซึ่งเป็นบริษัทฯ  ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นและมีผ้าส่วนเกินจากการผลิตค่อนข้างเยอะ จึงได้ร่วมกันนำผ้าส่วนเกินเหล่านั้นมาออกแบบและตัดเย็บเป็นดอกไม้ เพื่อนำมาใช้ตกแต่งหน้าพวงหรีด โดยผ้าเหล่านี้ สามารถนำไปใช้เช็ดทำความสะอาดเอนกประสงค์ต่อได้

ลฤก เป็นแบรนด์ “พวงหรีดเสื่อ” ที่มุ่งเน้นในเรื่องการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคม เราดำเนินธุรกิจโดยวางแนวทางการลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero waste) พวงหรีดลฤก ประกอบด้วย เสื่อ 1 ผืน และอาสนะ 1 ชิ้น ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 100% และเป็นพวงหรีดที่วัดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้  นอกจากนี้พวงหรีดลฤกยังได้ร่วมกับ บูติคนิวซิตี้ ในการผลิตดอกไม้ผ้าส่วนเกินจากอุตสาหกรรม จึงเป็นที่มาของ “ระลึกรักษ์” เพื่อนำมาใช้ประดับตกแต่ง “พวงหรีดเสื่อ” ให้มีความสวยงาม และมีความหลากลาย ซึ่งนอกจากให้ความสวยงามและเกิดคุณค่าทางจิตใจแล้ว ยังเป็นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำ ที่สำคัญยังเป็นการช่วยลดปริมาณขยะปลายทางที่นำไปสู่การกำจัดอีกด้วย

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

แพลตฟอร์ม “นอนนอน” เช่าที่นอน ใช้ คืน รีไซเคิล

Previous article

เยอรมันให้ทุนฟรีผู้ใช้รถยนต์ EV ติดโซลาร์เซลล์-ชาร์จเจอร์ที่บ้าน

Next article

You may also like

More in TOP STORIES