Life Cycle Assessment กระบวนการเพื่อความยั่งยืน

การประเมินในด้านผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย จะเริ่มให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบในระยะยาวเป็นหลัก โดยมีชื่อหนึ่งเรียกว่า การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือ Life Cycle Assessment (LCA) เป็นกระบวนการในการประเมินผลกระทบที่ผลิตภัณฑ์มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิต ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและหนี้สินที่ลดลง โดยกระบวนการเหล่านี้ได้รับวิธีการประเมินวงจรชีวิตเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามรายงานของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Life Cycle Assessment เป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ วัสดุ กระบวนการ หรือกิจกรรม จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเริ่มมีการพูดถึงในประโยชน์ของการนำมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ

โดยทั่วๆ ไปในขณะที่ทำการตัดสินใจด้านการผลิตและการตลาดที่สำคัญ อาจไม่ได้คำนึง Life Cycle Assessment มากนัก การเริ่มต้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อค้นหาทางแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อภาพรวม เพื่อให้นวัตกรรมที่ช่วยให้ทีมของพวกเขาสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า และส่งเสริมคุณลักษณะเฉพาะของพวกเขาเพื่อกระตุ้นความสนใจของลูกค้า แต่กระบวนการไม่ได้มีแค่ผลิตแล้วจบลงในขั้นตอนนั้นเพียงอย่างเดียว ถ้ามองในการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม Life Cycle Assessment นั้น ถูกยกระดับให้เป็นหนึ่งในกระบวนการที่รับรองมาตรฐานระดับสากล ISO 14000 โดยเป็นมาตรฐานสากลของกระบวนการการผลิต ว่าด้วยเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการในการประเมินผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น จะเริ่มตรวจสอบได้ดังนี้

  • กระบวนการจัดหาทรัพยากร : กระบวนการจัดหาทรัพยากรเพื่อปรับเป็นผลิตภัณฑ์ จะต้องประเมินเรื่องวัตถุดิบที่นำมาใช้ รวมถึงการนำพลังงานมาใช้ ว่าส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทางตรงหรือทางอ้อม
  • กระบวนการผลิต : การผลิตในอุตสาหกรรม จะต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มต้นนวัตกรรมในการผลิตสินค้า ว่าผลิตอะไร ใช้ปริมาณส่วนผสมเท่าไหร่ และมีการสังเคราะห์ยังไงบ้าง กระบวนการผลิตจะต้องยกระดับความปลอดภัยทั้งเริ่มต้นผลิต จนกระทั่งสิ้นสุดการผลิต
  • บรรจุภัณฑ์ และการขนส่ง : บรรจุภัณฑ์จะต้องปิดสนิท การขนส่งจะต้องมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการบรรจุภัณฑ์จะต้องสามารถรีไซเคิล และย่อยสลายได้ ซึ่งจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในระยะยาว กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการสำคัญพอๆ กับขั้นตอนการผลิตเลยทีเดียว
  • การใช้งานโดยผู้บริโภค : หากต้องการส่งเสริม Life Cycle Assessment จะต้องอาศัยรีวิวจากผู้บริโภคถึงความพึงพอใจ และให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการออกแบบอย่างยั่งยืน การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ ส่งผลให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมลดลง รวมถึงการใช้และการปล่อยวัสดุที่ไม่หมุนเวียนหรือเป็นพิษขณะบริโภค
  • จุดสิ้นสุดหลังการใช้ : หลังการบริโภคและอุปโภค มีความปลอดภัยต่อสุขภาพหลังจากที่ทานอย่างไรบ้าง รวมถึงความพึงพอใจของประโยชน์เหล่านี้ ส่งผลต่อความต้องการทรัพยากรและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ การประเมินเหล่านี้แสดงถึงประโยชน์และต้นทุนทั้งหมดของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ ซึ่งช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเลือกโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต
  • การกำจัดขยะ : ขั้นตอนนี้สำคัญมาก การกำจัดขยะหรือมลพิษที่เกิดขึ้น จะต้องมีกระบวนการคัดแยก หรือจำแนกขยะที่เหมาะสม จะต้องไม่มั่วกับขยะอันตรายเลย โดยการระบุและหาปริมาณพลังงานและวัสดุที่ใช้และของเสียที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม และเพื่อประเมินผลกระทบของพลังงานและวัสดุที่ใช้และปล่อย ว่าส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน

ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ใน Life Cycle Assessment คือ “การวิจัยและทดสอบ” แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาจดูเหมือนเป็นแนวคิดที่ชาญฉลาด แต่การมองลึกลงไปอาจเผยให้เห็นช่องโหว่ที่สำคัญ จึงมองว่ามันคือประโยชน์ที่ดีในการวิเคราะห์ และพัฒนาออกมาให้ดีขึ้น สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก

สรุปได้ว่า กว่าจะเป็น Life Cycle Assessment จะต้องศึกษาตัวแปรสำคัญเพื่อความยั่งยืนในการสร้างผลิตภัณฑ์ ในช่วงการเติบโตของกระบวนการผลิต ผู้บริโภคยอมรับผลิตภัณฑ์ในตลาด และลูกค้าเริ่มซื้ออย่างแท้จริง นั่นหมายความว่า ความต้องการและผลกำไรกำลังเติบโต หวังว่าจะก้าวอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนการเติบโตคือเมื่อตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์มีการขยายตัวและการแข่งขันเริ่มพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามตัวแปรที่สำคัญจะขาด “ผู้จัดการผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นบุคลากรในองค์กรไม่ได้เลย เพราะจะเกี่ยวข้องกับวงจรผลิตภัณฑ์ และกระบวนการโดยตรง มีหน้าที่สนับสนุนโครงการตลอดแต่ละขั้นตอน ทักษะและความต้องการความเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งจำเป็นในขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้เพื่อขับเคลื่อนการผลิตของผลิตภัณฑ์ไปข้างหน้า ให้เป็นสินค้าและบริการยอดนิยมรูปแบบหนึ่งสำหรับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งเป็นการเริ่มต้น การเติบโต ความเสถียร และอัตราการลดลงของสินค้าและบริการ ที่จะต้องคำนึงผลประโยชน์ต่อภาพรวม โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จะต้องไม่ก่อให้เป็นพิษหรืออันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเข้าใกล้วิกฤตการณ์ขยะล้นโลก ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ และจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือในการแก้ปัญหานี้จากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป รัฐบาล รวมไปถึงภาคเอกชน

บทความนี้จะพามารู้จักกับ LCA (Life Cycle Assessment) กระบวนการสำหรับประเมินวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มองเห็นผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม มาหาคำตอบกันเลยว่า LCA คืออะไร? และมีกระบวนการที่ช่วยขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนได้อย่างไร?

ทำความเข้าใจ LCA คืออะไร ?

Life Cycle Assessment หรือเรียกย่อๆ ว่า LCA คือ กระบวนการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของสินค้าและบริการ ซึ่งรวมไปถึงสามารถประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน

โดย LCA นั้นถูกระบุให้เป็นหนึ่งใน ISO 14000 (คือ มาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม) ซึ่งจะทำการประเมินตั้งแต่

  • กระบวนการจัดหาทรัพยากร
  • กระบวนการผลิต
  • บรรจุภัณฑ์ และการขนส่ง
  • การใช้งานโดยผู้บริโภค
  • จุดสิ้นสุดการใช้งานของผลิตภัณฑ์
  • การกำจัดขยะ หรือมลพิษที่เกิดขึ้น

ซึ่งจะประเมินถึงปริมาณของพลังงาน วัตถุดิบที่ใช้ รวมไปถึงการปล่อยมลพิษและของเสียออกมาสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาหนทางให้ผลิตภัณฑ์นั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมและการประเมินโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสุขอนามัยของชุมชน เพื่อที่จะหาวิธีการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ข้อดีของ LCA คืออะไร? ขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนได้อย่างไร?

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าข้อดีของ LCA คือการทำให้องค์กรนั้นได้มองเห็นว่า ในวัฏจักรชีวิตของสินค้าแต่ละชิ้นนั้นได้สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อหาคำตอบว่าองค์กรจะมีวิธีลดผลกระทบเหล่านี้อย่างไรได้บ้าง

LCA จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินเชิงลึก และเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมก่อนจะเริ่มกระบวนการผลิต

ขั้นตอนการดำเนินการของ LCA

เท่านี้ทุกคนน่าจะพอเข้าใจ Concept คร่าวๆ กันแล้วว่า LCA คืออะไร ทีนี้เรามาดูกันว่าขั้นตอนการดำเนินการของ LCA นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: การกำหนดเป้าหมาย และขอบเขต (Goal and Scope Definition)

ขั้นตอนแรกได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย และขอบเขต (Goal and Scope Definition) เนื่องจากการที่จะวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้นั้น หากไม่กำหนดเป้าหมายและขอบเขตที่ชัดเจน อาจทำให้การวิเคราะห์ผลนั้นเป็นไปได้ยาก จนท้ายที่สุดแล้ว ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้อาจไม่ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ยาก

ซึ่งการกำหนดขอบเขต และเป้าหมายให้ชัดเจนจะทำให้ผู้ที่ดำเนินการวิเคราะห์นั้นทราบว่า ควรจะดึงข้อมูลสำคัญจากแหล่งใดจึงเป็นประโยชน์กับเป้าหมายที่วางไว้ได้มากที่สุดนั่นเอง อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 2: การวิเคราะห์รายการคลัง (Inventory Analysis)

ขั้นตอนถัดมาของการ LCA คือ การวิเคราะห์รายการคลัง (Inventory Analysis) เป็นการวิเคราะห์ทรัพยากรที่จะถูกนำเข้า และถูกนำส่งออกไปจากคลัง เช่น วัตถุดิบที่จะนำเข้ามาภายในคลัง มลภาวะที่จะถูกปล่อยสู่อากาศ มลภาวะที่จะถูกปล่อยลงน้ำ ฯลฯ ซึ่งจะนำรายการเหล่านี้มาเพื่อวิเคราะห์ต่อในกระบวนการถัดไป

ขั้นตอนที่ 3: การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Impact Assessment)

ขั้นตอนที่ 3 คือ การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Impact Assessment) เป็นการประเมินผลจากรายการคลัง ซึ่งจะดำเนินการเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้

  • จำแนกรายการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (Selection and Definition of Impact Categories)
  • จำแนกประเภท (Classification)
  • จำแนกลักษณะและการทำงาน (Characterization)
  • กำหนดมาตรฐาน (Normalization)
  • จัดกลุ่ม (Grouping)
  • กำหนดน้ำหนักความสำคัญ (Weighting)
  • ประเมินผลและรายงาน (Evaluating and Reporting Results)

ขั้นตอนที่ 4: การวิเคราะห์ผลลัพธ์ (Interpretation & Critical Review)

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การวิเคราะห์ผลลัพธ์ (Interpretation & Critical Review) เป็นการนำผลของทั้ง 3 ขั้นตอนแรกมาวิเคราะห์โดยละเอียด เพื่อมองหาแนวทางแก้ไข และลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้อย่างยั่งยืนโดยที่ยังคงคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์เอาไว้ได้

LCA คือ อะไร ?
Life Cycle Assessment (LCA) หรือ การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ คือ วิธีการประเมินเชิงปริมาณของการใช้ทรัพยากร มลพิษที่เกิดขึ้นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการ โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการนำไปกำจัด

LCA แตกต่างจากเครื่องมือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อย่างไร?
– LCA สามารถใช้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
– LCA มีความหลากหลายของข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผล
– LCA จะมีการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกๆประเด็นที่เกิดขึ้นรวมไปถึงระบบนิเวศพันธุ์พืช/สัตว์ และสุขภาพของคน

ทำไมต้องใช้ LCA ?
LCA เป็นตัวช่วยเพิ่มความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังสนใจในการพัฒนาคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

การศึกษา LCA ประกอบด้วยอะไร?
การศึกษา LCA ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน หลักดังนี้
1. การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope Definition) คือ การ กำหนดเป้าหมายและขอบเขตของระบบ (system boundary) หน่วยการทำงาน (functional unit) ที่จะทำการศึกษา ขั้นตอนมีความสำคัญมากเป็นปัจจัยโดยตรงต่อความละเอียดในการศึกษาเพราะถ้ากำหนดเป้าหมายและขอบเขตไม่ดีพอจะทำให้ผลที่ได้จากการประเมินนั้นไม่ถูกต้องและไม่มีประโยชน์ในการที่จะนำผลที่ได้ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์นั้นให้ดีขึ้น
2. การวิเคราะห์บัญชีรายการ(Inventory analysis) คือการเก็บรวบรวมและ คำนวนข้อมุลที่ได้จากกระบวนการต่างๆที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตการศึกษาขั้นตอนนี้มีการคำนวนหาปริมาณของสารขาเข้าและสารขาออกจากผลิตภัณฑ์ โดยจะพิจารณาถึงพลังงานและมลพิษที่เกิดขึ้นด้วย
3. การประเมินผลกระทบ(Impact Assessment) คือมีการประเมินผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมโดยใช้ข้อมูลจากสารขาเข้าและสารขาออกรวมถึงมลพิษที่เกิดขึ้น โดยการประเมินจะแบ่งหัวข้อหลักๆ คือ การจำแนกประเภท (classification) การกำหนดบทบาท (characterization) และการให้น้ำหนักแก่แต่ละประเภท (weighting)
4. การแปลผลการศึกษา (Life Cycle Interpretation) คือ การนำผลการศึกษาที่ ได้มาวิเคราะห์เพื่อสรุปผล การใช้ข้อเสนอแนะจากการประเมินวัฏจักรชีวิตโดยการสรุปผลจะต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของการศึกษาที่เราตั้งไว้

ใครใช้ LCA ?

ภาคอุตสาหกรรม
– ออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์
– พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดและแผนการลงทุน
– ช่วยในการหาผู้จัดหาวัตถุดิบ (supplier) ให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ
– ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อม
– พิจารณาสนับสนุนเงินทุนหรือการจัดทำโครงสร้างภาษีอากร เอกชน
– เป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อผู้บริโภค
– เป็นข้อมูลเพื่อให้รัฐบาลมีการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค
– เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

ประโยชน์ของการทำ LCA ?
– สามารถนำ LCA ไปใช้ในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตว่ากระบวนการใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
– สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินไปใช้ในการออกแบบทำ Eco-design
– ทำให้ทราบถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตตลอดวัฏจักรชีวิตไม่ใช่ช่วงใดช่วงหนึ่ง ทำให้สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ครบทุกด้าน

ติดตามข่าวสารและบทความเกี่ยวกับ The Sustain – ธุรกิจและความยั่งยืน พลังงาน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ

thesustain.space

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

สร้างสรรค์ธุรกิจบนแนวคิดแบบรักษ์โลก

Previous article

บางจาก เปลี่ยนโลโก้ใหม่ ตอกย้ำวิสัยทัศน์-กลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อสิ่งแวดล้อม-สังคม

Next article

You may also like

More in TOP STORIES