จีนค้นพบแร่ใหม่ที่มีชื่อว่า ไนโอโบโบไทต์ ซึ่งเป็นแร่หายาก ที่อนาคตอาจมาพลิกวงการรถยนต์ไฟฟ้า เพราะมีการวิจัยว่าแบตเตอรี่ที่มีสารไนโอเบียม อาจปลอดภัยและชาร์จเร็วกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

จีน ประเทศที่เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนของวงการรถยนต์ไฟฟ้าเนื่องจากมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่เป็นจำนวนมหาศาล ปัจจุบันจีนนำเข้าไนโอเบียมร้อยละ 95 และการค้นพบแร่ใหม่นี้อาจเป็นเรื่องยิ่งใหญ่สำหรับประเทศ ซึ่งอนาคตจีนอาจไม่จำเป็นต้องนำเข้าไนโอเบียมจำนวนมากและพึ่งพาตนเองในการผลิตได้มากขึ้น

Credit : Nyobolt

เดิมทีประเทศบราซิลเป็นผู้ส่งออกไนโอเบียมรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยควบคุมตลาดไนโอเบียมทั่วโลกเพียงไม่ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ณ เวลาที่จัดทำรายงาน ขณะเดียวกันแคนาดาถูกระบุว่าส่งออกไนโอเบียมประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังวางแผนที่จะเปิดเหมืองไนโอเบียมแห่งแรกและแห่งเดียวในเนบราสกา จีนเป็นผู้ซื้อไนโอเบียมรายใหญ่ที่สุดของบราซิลตามรายงานการสำรวจ

แร่ไนโอเบียม คืออะไร?

ไนโอเบียม ถือเป็นแร่หายากที่มีความสำคัญสูงมากในวงการเทคโนโลยี เพราะไนโอเบียมสามารถนำไปทำสารซูเปอร์คอนดักเตอร์ (Superconductor) ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีในสภาพอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในเครื่องมืออุตสาหกรรมขั้นสูง หรือแบตเตอรี่แบบใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัยในปัจจุบัน

Credit : thewest

ปัจจุบันแร่ดังกล่าวได้รับหมายเลขอนุมัติอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการจำแนกประเภทของสมาคมแร่วิทยาระหว่างประเทศแล้วโดยบริษัทนิวเคลียร์แห่งชาติ

เนื่องจากจีนมีการค้นพบแร่ไนโอเบียม ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จีนจะพัฒนาแบตเตอรี่แบบใหม่ชื่อว่า “ไนโอเบียมลิเทียม” (Niobium-lithium) โดยแบตเตอรี่นี้จะสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ในเวลาต่ำกว่า 10 นาที ไร้ปัญหาเรื่องความร้อนแม้ชาร์จด้วยกำลังไฟที่สูง โดยมีตัวอย่างรถที่ใช้งานแบตเตอรี่ไนโอเบียมอย่าง The Lotus Elise ที่ชาร์จได้เต็มภายใน 6 นาทีเท่านั้น

The Lotus Elise ซึ่งเดิมทีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจำเป็นต้องใช้เวลาชาร์จเป็นชั่วโมงๆ เนื่องจากต้องรักษาอุณหภูมิ แต่อย่างไรก็ตามจีนยังมีคู่แข่งอย่างแบตเตอรี่โซลิด-สเตท (Solid-state) ซึ่งโตโยต้ากำลังพัฒนาอยู่ ก็สามารถชาร์จไฟได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาทีเช่นเดียวกัน

อนาคตรถยนต์ไฟฟ้าจะมีการใช้แบตเตอรี่ที่หลากหลายมากขึ้นซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาวิจัยหลากหลายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่เกลือ (Sodium-ion) และแบตเตอรี่ประเภทอื่นๆอีกมากมายที่กำลังจ่อพัฒนารอออกมาใช้งานในอนาคต

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก springnews

ทำความรู้จัก Zero Waste

Previous article

“เหล้าจิน” จากเศษโดนัทเหลือทิ้ง Krispy Kreme ไอเดียใหม่ลดปัญหาขยะอาหาร

Next article

You may also like

More in Innovation