พลังงาน ทดแทน

 พลังงานทดแทน ถึงเวลาหรือยังที่โลก! ต้องเปลี่ยน

แหล่งพลังงานของโลก กำลังค่อยๆ หายไปเรื่อยๆ ทุกวัน ไม่เร็วก็ช้า… พลังงานก็จะหมดไป หลายคนตระหนักถึงเรื่องนี้ดี รวมไปถึงองค์กรใหญ่ หรือบริษัทต่างๆ ก็เริ่มหันมาใส่ใจและพัฒนาสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้เป็น พลังงาน ทดแทน กันมากขึ้น เพราะทุกการใช้ชีวิต ก็เป็นเหมือนเราทุกคนได้ใช้พลังงานบนโลกตลอดเวลา โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ต่างๆ ดังนั้น ถ้าหากไม่มี พลังงานทดแทน ก็อาจจะทำให้อนาคตไม่เหลือพลังงานบนโลกให้เราใช้อีกต่อไป เรื่องการสร้าง พลังงาน ทดแทน ให้กลายมาเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐ์กิจโลกจึงเป็นเรื่องสำคัญ

สังเกตได้จากมนุษย์เราเริ่มพัฒนา กังหันลม กังหันน้ำ และแผ่นพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อดึงพลังงานที่ไม่มีวันหมด มาใช้เป็น พลังงาน ทดแทน โดยการเอาพลังงานแสนอาทิตย์มาแปรรูป เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า นำไปใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เชื่อได้เลยว่าในอนาคต พลังงาน จะต้องถูกเอามาใช้อย่างมหาศาล มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ถึงเวลาหรือยังที่โลก! ต้องเปลี่ยมาใช้ พลังงานทดแทน

โดยเราทุกคน ก็สามารถเริ่มใช้พลังงาน ทดแทน เป็นของตนเองได้ โดยเริ่มต้นจากสิ่งรอบตัว เช่นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเปิดไฟในตอนกลางคืน อย่าง ตัวเปิดปิดไฟอัตโนมัติที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ไฟฉายที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้นเอง

พลังงานทดแทน หมายถึงอะไร พลังงานทดแทน คืออะไร

พลังงานทดแทน หรือในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Renewable Energy หรืออาจจะเรียกได้ว่า “พลังงานทางเลือก” คือพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัดโดยพลังงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานที่ได้จากฟอสซิลเป็นจำนวนมาก

ได้แก่ ถ่านหิน ปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปริมาณสูง ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกซึ่งเป็นปัญหาของภาวะโลกร้อนนั่นเอง

พลังงานทดแทน ที่กำลังนิยม

ในวันนี้ขอพูดถึง พลังงานทดแทนที่กำลังเป็นที่นิยมกันก็คือ พลังงานที่ถูกทำขึ้นใหม่ (renewable) ได้อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (renewal energy) ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ และไฮโดรเจนเป็นต้น

พลังงานหมุนเวียน คืออะไร คือพลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หรือมูลสัตว์ ก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น พลังงานหมุนเวียนจึงถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และยังสามารถส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย

พลังงานทดแทน มีอะไรบ้างที่เป็นพลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียนที่ทั่วโลกนิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานชีวมวล

1. พลังงานน้ำ (Hydropower) เป็นแหล่งพลังงานธรรรมชาติที่มีให้หมุนเวียนใช้อย่างไม่มีวันหมด น้ำนับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โดยเฉพาะมนุษย์ที่ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างมากมาย ทั้งการบริโภคและอุปโภค นอกจากนี้น้ำยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนรูปของพลังงานจากน้ำที่เก็บกักในเขื่อน (พลังงานศักย์) ไหลผ่านท่อส่งน้ำ (พลังงานจลน์) ปั่นเครื่องกังหันน้ำ (พลังงานกล) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

ประเภทของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (Reservoir), โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-ofriver), โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-storage) และโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน

พลังงานทดแทน

2. พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) มีอยู่มากมายมหาศาลในธรรมชาติ เป็นพลังงานสะอาดที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อย่างแพร่หลาย สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน โดยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง และไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

ที่ไทยเรามีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วย ได้แก่ สถานีพลังงานแสงอาทิตย์คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และสถานีพลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ ได้แก่ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำบริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำบริเวณเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

พลังงานทดแทน

3. พลังงานลม (Wind Energy) เป็นพลังงานจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความกดอากาศในแต่ละตำแหน่ง บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศจะร้อนมีความหนาแน่นน้อย เกิดการขยายตัวและลอยตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันอากาศในบริเวณที่เย็นกว่ามีความหนาแน่นมากกว่า จะเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการไหลของอากาศหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากระแสลม

ในปัจจุบัน มนุษย์จึงได้นำประโยชน์จากพลังงานลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น การนำลมมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าทำได้โดยใช้เทคโนโลยีกังหันลม เมื่อกระแสลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลม กังหันลมจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมที่อยู่ในรูปของพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานกล จากนั้นจึงนำพลังงานกลจากการหมุนนี้ไปใช้งาน ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยาวของใบพัด และสถานที่ติดตั้งกังหันลม

ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลมของ กฟผ. ได้แก่ กังหันลมผลิตไฟฟ้า บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต, กังหันลมผลิตไฟฟ้า บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

4. พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) เป็นพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลก เช่นเดียวกับน้ำมันปิโตรเลียม แต่เก็บอยู่ในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ปกติแล้วขนาดของแนวรอยแตกที่ผิวดินจะใหญ่และค่อย ๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิวดิน เมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้นน้ำบางส่วนจะไหลซึมลงไปสะสมใต้ผิวโลกตามแนวรอยแตกดังกล่าว และได้รับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อน จนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ น้ำร้อนและไอน้ำจะพยายามแทรกตัวมาตามแนวรอยแตกของชั้นหินขึ้นมาบนผิวดินซึ่งปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อนน้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือดและแก๊ส เป็นต้น

การนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ผลิตไฟฟ้าทำได้โดยนำน้ำร้อนที่ได้ไปถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำ จนกระทั่งเดือดเป็นไอ แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันซึ่งมีเพลาต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป

5. พลังงานชีวมวล (Biomass) เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่กักเก็บในรูปของสารอินทรีย์ โดยมากได้จากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรหรือกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและพืชพลังงาน เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย ใบและยอดอ้อย เศษไม้ ไม้โตเร็ว เส้นใยและกะลาปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า ขยะมูลฝอย น้ำเสียจากโรงงาน หรือแม้กระทั่งมูลสัตว์ การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่

5.1) การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง (Direct Combustion) ซึ่งจะใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass PowerPlant)

5.2) กระบวนการเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion) จนได้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) เช่น การหมักน้ำเสียจากกากมันสำปะหลัง กากอ้อย หรือหญ้าเนเปีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant) ต่อไป

ถ้าถามว่า พลังงานทดแทน ใดที่ไทยใช้มากที่สุด ทางเราคาดว่าน่าจะเป็น พลังงานแสนอาทิตย์ และพลังงานลม พลังงานน้ำ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นทำให้ มีฝนตกเยอะ มีลมแรง และอากาศร้อนเหมาะแก่การพัฒนาและใช้พลังงาน ทดแทน 3 ประเภทนี้มากที่สุดนั้นเอง

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก mmthailand, greennetworkthailand, egat

สอน. จับมือ สถาบันพลาสติก GO GREEN มอบถุงพลาสติกชีวภาพ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Previous article

พลังงานยุคใหม่ ทางออกวิกฤตแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

Next article

You may also like

More in Life