ตอนนี้เทคโนโลยีในการขนส่งทางเรือ ได้นำพลังงานลมกลับมาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

‘พลังงานลม’ พัดหวนมาอีกครั้งในฐานะนวตกรรมเรือบรรทุกสินค้าที่พึ่งพาพลังงานสะอาด ซึ่งถือเป็นอนาคตใหม่ของระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากที่การขนส่งด้วยเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่นี้ เผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลคุณภาพต่ำ และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 1,000 ล้านตันสู่ชั้นบรรยากาศทุกปี อ้างอิงจากข้อมูลขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization-IMO)

เรือพลังงานลม ทางเลือกใหม่แก้ปัญหาโลกร้อน จาก Michelin

ในระหว่างที่กฎเกณฑ์ด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนระหว่างประเทศเริ่มมีออกมา บริษัทเดินเรือขนส่งเริ่มนำพลังงานทางเลือก อาทิ พลังงานสะอาด พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มาปรับใช้กับธุรกิจมากขึ้น และหลายบริษัทเริ่มพิจารณาการใช้พลังงานที่ไม่มีต้นทุนและเป็นแหล่งพลังงานดั้งเดิมของการเดินเรือในท้องทะเล นั่นคือ พลังงานลม

กาวิน ออลไรท์ เลขาธิการสมาคมเรือยนต์นานาชาติ (International Windship Association-IWSA) หน่วยงานที่ผลักดันการใช้เรือยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลม ซึ่งพัฒนารูปแบบของเรือขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลมแบบ 100%

และยังพัฒนาเรือขนส่งที่ใช้พลังงานลมบางส่วน ที่สามารถนำไปประกอบกับเรือขนส่งดั้งเดิม เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการเดินเรือ และตอนนี้มีเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่อย่างน้อย 2 ลำที่นำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้แล้ว

โครงการ เรือพลังงานลม วิซาโม (WISAMO)

เรือพลังงานลม ทางเลือกใหม่แก้ปัญหาโลกร้อน จาก Michelin

ออลไรท์ บอกว่า ปัจจุบันเรือขนส่งเหล่านี้เผาผลาญเชื้อเพลิงจำนวนมหาศาลต่อวัน หากสามารถเพิ่มการใช้พลังงานลมแทนการใช้พลังงานเหล่านี้ได้ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการขนส่งสินค้าทางเรือได้ราว 5-10%

ซึ่งเป็นปริมาณสินค้าที่จะได้ขนลงเรือได้มากขึ้นด้วย และหากปรับเส้นทางเดินเรือไปตามทิศทางลมด้วยแล้ว แม้จะใช้เวลานานกว่าปกติกว่าจะถึงปลายทาง แต่จะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและเพิ่มพื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์ได้ถึง 30% หรือมากกว่านั้น

อีกด้านหนึ่งบริษัทมิชลิน (Michelin) พัฒนาโครงการ เรือพลังงานลม วิซาโม (WISAMO) เรือขนส่งรูปแบบใบเรือปีกนกแบบคู่ชนิดเป่าลม

เบนัวต์ เบลล์ เดลิเอ (Benoît Baisle Dailliez) หัวหน้าโครงการวิซาโม บอกว่า แนวคิดของเรือดังกล่าวนั้นเรียบง่ายมาก โดยระบบใบเรืออัตโนมัตินี้จะใช้เซนเซอร์ในการจับทิศทางลมและปรับการเดินเรือ มีส่วนหนึ่งทำหน้าที่คล้ายปุ่มเปิดเปิดระบบ และอีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมทิศทางลม ซึ่งไม่สร้างผลกระทบต่อการเดินเรือของลูกเรือแต่อย่างใด และเนื่องจากลักษณะของใบเรือเป่าลม เวลาที่เรือต้องผ่านใต้สะพานต่าง ๆ หรือเทียบท่า ก็สามารถถอดปีกออกได้ง่าย

ตอนนี้โครงการวิซาโมเริ่มนำใบเรือรูปแบบนี้มาทดสอบกับเรือยอร์ชแล้ว และบริษัทเตรียมที่จะติดตั้งระบบนี้เข้ากับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ภายในปีนี้

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก sanook

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับความยั่งยืน

Previous article

ไอเดียแคมเปญในโคลอมเบีย จากสติกเกอร์ติดผลไม้ลดปัญหาขยะ

Next article

You may also like

More in Innovation