เลือกตั้ง2566 ทำให้แต่ละพรรคการเมือง เริ่มมีการพูดถึงนโยบายแก้ปัญหา PM2.5
ไปดูนโยบายการจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของแต่ละพรรคในการ เลือกตั้ง2566 ซึ่งบางพรรคมีการประกาศนโยบายและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ขณะที่บางพรรคพูดถึงปัญหาและนโยบายนี้ ระหว่างการลงพื้นที่พบประชาชน เพื่อเห็นโครงสร้างของปัญหา และสถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เป็นวิกฤตใหญ่
-
นโยบายพรรคก้าวไกล
ชูนโยบาย“สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า” ซึ่งเป็นชุดนโยบายที่ 7 จากทั้งหมด 9 ชุดนโยบาย
นโยบาย แก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ประกอบด้วย
1.นโยบายด้านการเกษตร “ป้องกันการเผา เปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกเป็นรายได้”
– กำจัดการเผาภายใน 3 ปี งบปรับตัวตำบลละ 3 ล้านบาท 1,000 ตำบล
– เปลี่ยนการเผาเป็นเงินในกระเป๋าเกษตรกร งบอุดหนุนปลูกข้าว “เปียกสลับแห้ง” แทนการเผา สร้างอุตสาหกรรมแปรรูปฟางข้าว-ซังข้าวโพดแทนการเผา
2.นโยบายด้านการขนส่ง “ปรับปรุงการขนส่งให้สะอาดที่สุด”
– รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด ภายใน 7 ปี
– “วันขนส่งฟรี” รณรงค์ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว
– เปลี่ยนรถไฟดีเซลเก่าเป็นไฟฟ้า
– ตรวจสภาพรถยนต์ฟรี! ปีละครั้ง
– ควบคุมปริมาณรถบรรทุกในเขตเมือง
พรรคก้าวไกลยัง เผยแพร่ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลิตวันที่ 24 มกราคม 2566 โดยมี 5 นโยบายหลักในการจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5
1. ส่งเสริมขนส่งสาธารณะ อุดหนุนรถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนใช้รถยนต์ขนส่งสันดาปลดลง และใช้รถเมล์ไฟฟ้า (EV Bus) ให้ได้มากที่สุด
2. เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วเมืองผ่านการจัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้กลุ่มเปราะบาง
3. ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร สนับสนุนงบตำบลละ 3 ล้านบาทในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ชุมชนจัดการปัญหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่
4. ตรวจวัดสภาพอากาศ-เตือนภัยให้เร็ว ครอบคลุม ตามมาตรฐานสากล ด้วยการเพิ่มงบประมาณเพื่อจัดหาเทคโนโลยีการตรวจวัดค่าฝุ่นในอากาศที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก และพัฒนาระบบเตือนภัยเมื่อฝุ่นในอากาศเกินค่ามาตรฐานให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้ระวังและป้องกันสุขภาพตนเอง
5. ทำงานเชิงรุกในเวทีโลก โดยเฉพาะเวทีอาเซียน เร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการเผาในที่โล่ง
- นโยบายพรรคภูมิใจไทย
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ แกนนำทีม เปิดนโยบาย“ภูมิใจไทย ภูมิใจกรุงเทพฯ” ในวันที่ 11 มกราคม 66 ดูแลคนกรุงเทพฯ ทุกวัน ทุกเวลา และครอบคลุมทุกวัย เพื่อให้คนกรุงเทพฯ ภูมิใจ ด้วย นโยบาย 24 ชั่วโมง 7 วัน หรือ “ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7” เพื่อแก้ไขปัญหาให้คนกรุงเทพฯ
โดยนโยบาย แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อยู่ในหัวข้อ “ให้คุณภาพชีวิตที่ดี” ประกอบด้วย
– รถเมล์ไฟฟ้า/เรือไฟฟ้า ที่ทางภูมิใจไทยจะทำให้ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ
– ติดโซลาร์ รูฟ ฟรี ลดโลกร้อนทุกครัวเรือน
– วินมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าคันละ 6,000 บาท วินไรเดอร์ ผู้ขี่มอเตอร์ไซค์ ทางภูมิใจไทยจะมีนโยบายเพื่อให้ผู้ขับขี่ทุกคนสามารถเปลี่ยนมาใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในราคาที่เอื้อมถึง
-
นโยบายพรรคเพื่อไทย
เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 พรรคเพื่อไทย จัดเสวนา “วิกฤตฝุ่น PM 2.5 เพื่อไทยมีทางแก้ไข” พรรคเพื่อไทยมีแนวคิดที่จะผลักดันเป็นนโยบายพรรคเพื่อไทยแก้วิกฤต PM 2.5 ใน 6 ด้านได้แก่
1. ห้ามเผาป่า เผาไร่จริงจัง
2. เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านและเอกชนไทย ห้ามเผาไร่จริงจัง
3. เปลี่ยนรถเมล์ กทม. หลายพันคันเป็นรถไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด
4. เข้มรถปล่อยควัน โรงงานปล่อยมลพิษ ไซต์งานก่อสร้าง
5. ทำไทยเป็นศูนย์ผลิตรถไฟฟ้า ดันราคาลง คนใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น
6. ผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด พ.ร.บ.อากาศสะอาด
- นโยบายพรรคประชาธิปัตย์
วันที่ 4 ก.พ. 2566 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. พรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงปัญหาปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ระหว่างพื้นที่ ตลาดริมคลองเจริญกรุง 103 ระบุว่า
นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ใน กทม. คือ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของคนกรุงเทพฯ ทั้งเรื่องน้ำและเรื่องอากาศ โดยจะผลักดันการออกกฎหมายอากาศสะอาด ซึ่งค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร โดยมองว่าปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ การออกกฎหมาย พ.ร.บ.อากาศสะอาด พ.ศ. ….
- นโยบายพรรคชาติไทยพัฒนา
เป็นพรรคที่น่าจำตามองในนโยบายแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และสิ่งแวดล้อม เพราะนายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เคยเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยพรรคชาติไทยพัฒนามีแนวคิด Sustainable Country for all Gens : ประเทศที่ยั่งยืนพร้อมลูกหลานไทย โดยใช้ กรีน (Green) หรือ สิ่งแวดล้อม เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ
เว็บไซต์ของพรรคประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ระบุว่าการจะก้าวไปสู่ “ประเทศที่ยั่งยืน เพื่อลูกหลานไทย” มีองค์ประกอบ 9 ภารกิจ ประกอบด้วย
1. เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) : การสร้างเศรษฐกิจสีเขียวเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของประเทศในอนาคต และทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับ และเติบโตพร้อมกับความยั่งยืนของโลก
2. พลังงานสะอาด (Clean Energy) : พัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด เป็นพลังงานหลักของประเทศ ภายในปี ค.ศ. 2030
3. เมืองสีเขียว (Green City) : การพัฒนาทุกจังหวัดให้น่าอยู่ น่าเที่ยว ประชาชนมีความสุขทั้งกายและใจ และมีสวนสาธารณะที่มีคุณภาพทั่วทั้งประเทศ
4. สิ่งแวดล้อมสีเขียว (Green Environment) : การพัฒนาให้ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศที่ดี มีป่าไม้ แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
5. ท่องเที่ยวยั่งยืน (Sustainable Tourism) : พัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของโลกด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการดูแลสภาพแวดล้อม และการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น
6. อาหารแห่งอนาคต (Future Food) : พัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางอาหารคุณภาพ และอาหารสุขภาพ ในราคาที่จับต้องได้
7. เกษตรสีเขียว (Green Agriculture) : ยกระดับเกษตรกรด้วยนวัตกรรมสีเขียว พัฒนาผลผลิตที่ดีควบคู่ความยั่งยืนของชุมชนและสภาพแวดล้อม รวมถึงถ่ายทอดภูมิปัญญาผ่านปราชญ์ชุมชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการเกษตร
8. สาธารณสุขเชิงป้องกัน (Preventive Public Health) : สนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจให้แข็งแรง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข รวมถึงมีโปรแกรมรางวัลสำหรับผู้ที่ไม่เจ็บ ไม่ป่วย เพื่อจูงใจให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น
9. การเมืองสร้างสรรค์ (Constructive Politics) : ทำการเมืองสร้างสรรค์ ร่วมมือกันทำงาน ตรวจสอบ ถ่วงดุล และไม่ขัดแย้ง เพื่อความก้าวหน้าของประเทศ
- นโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า
นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ชูนโยบาย “พันธบัตรป่าไม้” เป็น 1 ในยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเฉดสี เพื่อเป็นเครื่องมือใช้ในการส่งเสริมการปลูกป่า แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าทำได้ดีก็จะสามารถได้พื้นที่กลับคืนมาจากการบุกรุกและแปลงสภาพป่าดั้งเดิมเป็นไร่ข้าวโพด ที่มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง และการเผาป่าจนเกิดมลพิษ ฝุ่น ควัน และ PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ได้
- นโยบายพรรคสร้างอนาคตไทย
1.แก้ปัญหาป่าไม้ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คู่ขนานกับการพัฒนาอาชีพ
2.แก้ปัญหามลพิษทางอากาศจากการเผา
3.โรงไฟฟ้าทุกโรง ชาวบ้านในพื้นที่ต้องเป็นเจ้าของร่วมกัน
- นโยบายพรรคไทยสร้างไทย
1.ลดค่าไฟฟ้าทันที ให้เหลือไม่เกิน 3.5บาท/หน่วย
2.การเกษตรและอาหาร ที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต
3.ระบบชลประทานที่จะต้องแก้ไข หาวัตถุดิบราคาถูก
- นโยบายพรรคพลังประชารัฐ
1.นโยบายการบริหารจัดการน้ำ เติมน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่
2.เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ เพิ่มแหล่งน้ำสำรอง และแหล่งน้ำทางเลือก
3.แก้ปัญหา น้ำแล้ง น้ำท่วมซ้ำซาก จัดทำผังน้ำชุมชน
4.ปฏิรูประบบที่ดิน คืนที่ทำกินให้ประชาชน”
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก pptvhd36