วันสิ่งแวดล้อมโลก

วันสิ่งแวดล้อมโลก จุดเริ่มต้นในการรักษ์โลก

5 มิถุนายนของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day โดยสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเป็นการฉลองความร่วมมือจากนานาชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม และยังเป็นวันก่อตั้งของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme: UNEP) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพิจารณาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศสมาชิกกำลังประสบอยู่อย่างเร่งด่วน ซึ่งประเด็นสำคัญในการหารือก็คือ ทุกๆ ประเทศสมาชิกต่างต้องสรรหาวิธีการดูแลแก้ไขปัญหา และให้ความตื่นตัวเกี่ยวกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และนี่คือจุดเริ่มต้นของการรักษ์โลก

ความเป็นมาวันสิ่งแวดล้อมในไทย

ประเทศไทย มีระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกสองครั้ง จนลงเอยที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2535 เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีใจความสำคัญที่เน้นมุ่งกระจายอำนาจของการวางแผนและปฏิบัติการการสิ่งแวดล้อมลงสู่ท้องถิ่น รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องของเรื่องของการติดตาม ตรวจสอบการควบคุมมลพิษ

คำขวัญ วันสิ่งแวดล้อมโลก

ในทุก ๆ ปี จะมีการตั้งคำขวัญเพื่อใช้ในการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาตระหนักและใส่ใจในการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสำหรับปี 2564 มีคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลกไว้ว่า “การฟื้นฟูระบบนิเวศ หรือ Ecosystem Restoration”ทางสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี 2564 – 2573 เป็นทศวรรษแห่งการฟื้นฟู ภายใต้แนวคิด “ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมไปแล้วได้ แต่เราสามารถฟื้นฟูระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ได้ ด้วยการสร้างเมืองที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียว การรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำและชายฝั่ง รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ”

วันสิ่งแวดล้อมโลก กระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศ

คำถามที่ชวนให้คิดคือ ทำไมเราต้องฟื้นฟูระบบนิเวศ? เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่อมนุษย์กลายเป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมเสียเอง ซึ่งการสูญเสียระบบนิเวศจึงเกิดปัญหาใหญ่ตามมา ได้แก่

  1. ด้านสิ่งแวดล้อม การทำลายระบบนิเวศคือการลดปริมาณของพื้นที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่ง

เป็นส่วนสำคัญของการต่อสู่กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) และยังทำให้ภัยพิบัติมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น

  1. ด้านเศรษฐกิจ การเผาป่าที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสาธารณสุขและทำให้มี

ค่าใช้จ่ายด้านนี้สูงขึ้น บางประเทศระบุว่ามีค่าใช้จ่ายสำหรับโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศมากถึง 7% ของ GDP

  1. ด้านความมั่นคง การเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมทำให้มีการแย่งชิงทรัพยากรที่จำกัด และทำให้

เกิดความขัดแย้งหรือการโยกย้ายของกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนชายขอบ และกลุ่มเปราะบาง

  1. ด้านสังคม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นถึงความหายนะของการทำลายระบบ

นิเวศ พื้นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ลดน้อยลง ทำให้มีการสัมผัสกับมนุษย์มากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้โรคต่างๆ เกิดการระบาดได้ง่าย

แนวทางในการส่งเสริมวันสิ่งแวดล้อมโลก

อย่างที่เราทราบกันดีว่า หากเราจะรักษาโลกใบนี้ ไม่ควรจะทำแค่ในวันสิ่งแวดล้อมโลกหรือทำกันแค่คนบางกลุ่ม แต่ทุกคนควรช่วยกันทำให้เกิด Impact เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยแนวทางในการส่งเสริมทำได้ดังนี้

  • สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ด้วยการให้ข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
  • ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี รวมถึงเสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • เรียนรู้ที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทางตรง คือ การใช้อย่างประหยัดด้วยการใช้ทรัพยากรเท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และอาจมีการรีไซเคิล หรือการนำกลับมาใช้ซ้ำอีก

การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ควรเกิดขึ้นแค่ในวันสิ่งแวดล้อมโลกเท่านั้น แต่ควรให้มีในทุก ๆ วันของการใช้ชีวิต เรียนรู้ที่จะดูแล ใช้ทรัพยการที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุด

Turnoff
นักเขียนอิสระหลากหลายธุรกิจ เขียนคอนเท้นท์ SEO ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี turnoffweb.com

บีโอไอหนุนไทยสู่คลัสเตอร์อุตฯ พลาสติกชีวภาพ ส่งเสริม ⠀“เนเชอร์เวิร์คส์”ผลิตพอลิเมอร์ย่อยสลายรับเทรนด์สิ่งแวดล้อม

Previous article

พลังงานหมุนเวียน พลังแห่งการเปลี่ยนโลก

Next article

You may also like

More in Life