กรุงเทพน่าอยู่
กรุงเทพจะน่าอยู่ได้อย่างไรกับ 7 แนวคิดตัวชี้วัดที่ทำให้กรุงเทพดูน่าอยู่ขึ้น จะมีอะไรบ้างไป ดูพร้อมๆ กัน
 
นิยามความสุขในการอยู่อาศัย หรือบางคนเรียกว่า “Livable City” หมายถึง “เมืองน่าอยู่” เมืองที่มีความเหมาะสมแก่การอยู่อาศัย สามารถให้ความสะดวกสบายและความสุขกับทุกคนได้ แต่ก่อนที่กรุงเทพจะกลายเป็นเมืองน่าอยู่ได้ ก็ต้องผ่านตัววัดกันก่อน

7 ตัวบ่งชี้ที่สำคัญของเมืองน่าอยู่ ช่วยทำให้ กรุงเทพน่าอยู่

  1. ผู้คนในเมืองรู้สึกปลอดภัย รู้สึกผูกพันและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Inclusive city)
  2. ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (Sustainability)
  3. การมีที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอในราคาที่เหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม (Affordable housing)
  4. มีโครงข่ายขนส่งสาธารณะ เส้นทางเดินและทางจักรยานที่เชื่อมที่อยู่อาศัยเข้าสู่แหล่งงาน โรงเรียน ร้านค้า สวนสาธารณะ โรงพยาบาล สถานที่พักผ่อนทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม (Connectivity and accessibility)
  5. สังคมที่พึ่งพาอาศัยกัน ให้เกียรติกัน (Dependent Society)
  6. สาธารณูปโภคที่ดี (Public utility)
  7. สุขภาพที่ดี มีกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย (Healthy)

กรุงเทพน่าอยู่

แนวคิดเมืองน่าอยู่นี้มีที่มาจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization (WHO)) ซึ่งแต่เดิมนั้นทางองค์การอนามัยโลกใช้คำว่า “Healthy Cities” ซึ่งแปลว่า “เมืองสุขภาพ” หรือ “เมืองสุขภาพดี”

ประเทศไทยโดยกรมอนามัยได้นำแนวคิดนี้เข้ามาบรรจุในยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองในปี พ.ศ.2537 โดยมีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อให้คนในเมืองมีสุขภาพที่ดี การพัฒนาตามแนวคิดนี้ครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมไปถึงการพัฒนาทางกายภาพ การจัดสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้าง บริการสาธารณะ รวมถึงในการตัดสินใจอนุรักษ์หรือทำลายสิ่งใดภายในเมือง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่ความเป็นสุขหรือสุขภาวะของคนและสังคมเป็นประเด็นหลัก ทำให้บางครั้งแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า “เมืองสุขภาวะ”

หลักการของการเป็นเมืองสุขภาวะ (Healthy City)

ประกาศโดยองค์การอนามัยโลกสาขายุโรป (WHO, Regional Office for Europe) ประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • สภาพแวดล้อมทางกายภาพและที่อยู่อาศัยที่สะอาดและปลอดภัย
  • การรักษาระบบนิเวศให้สมดุลและยั่งยืน
  • ชุมชนที่เข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูลและไม่แสวงหาประโยชน์ส่วนตน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของชุมชนโดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
  • การตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของคนในเมือง เช่น อาหารและน้ำ อาชีพ รายได้ ความปลอดภัย เป็นต้น
  • การเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงกิจกรรมและทรัพยากรภายในเมืองอย่างทั่วถึง โดยส่งเสริมให้ผู้คนมีการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • การสนับสนุนนวัตกรรมทางเศรษฐกิจโดยส่งเสริมให้เกิดความหลายหลายและมีชีวิตชีวา
  • การสืบสานประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่
  • การควบคุมรูปทรงให้กลมกลืนหรือส่งเสริมรูปลักษณะดั้งเดิม
  • การมีบริการสาธารณสุขที่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง
  • การที่คนในเมืองมีสุขภาพดีและมีจำนวนผู้ป่วยน้อย

พลังงาน ทดแทน

จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของเมืองสุขภาพดีหรือเมืองสุขภาวะนั้น ครอบคลุมทั้งสุขภาพของคน สุขภาวะของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงความรู้สึกของคนต่อบริบทของเมือง ในขณะที่การใช้คำว่าเมืองสุขภาพดีไม่สามารถครอบคลุมหรือสื่อความหมายที่ชัดเจนได้ จึงมีการขยายความแนวคิดนี้ด้วยการใช้คำว่า เมืองน่าอยู่ (Livable city)

ซึ่งหมายความครอบคลุมถึงพื้นที่เมืองที่อำนวยความสุข สร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดีให้กับผู้คนภายในเมืองหลักสิบประการของความเป็นเมืองน่าอยู่

กำหนดโดย American Institute of Architects (AIA) มีดังนี้

  • Design on a human scale ออกแบบพื้นที่ให้มีสัดส่วนเหมาะสมกับการใช้งานของมนุษย์ โดยใช้ระยะการเดินเท้าเป็นตัวกำหนดขอบเขต กำหนดให้มีร้านค้า ที่ทำงานและบริการสาธารณะอยู่ในระยะการเดินจากที่อยู่อาศัย เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการจราจรทางรถยนต์และช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้คนในเมือง
  • Provide choices สร้างทางเลือกให้ผู้คน มีความหลากหลายของรูปแบบที่พักอาศัย ร้านค้า ตลาด ห้างสรรพสินค้า และระบบคมนาคม สร้างชุมชนที่น่าอยู่ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของคนในวัยและสถานภาพที่แตกต่างกัน
  • Encourage mixed-use development ส่งเสริมให้มีการใช้พื้นที่อย่างผสมผสานทั้งรูปแบบของกิจกรรมและอาคาร เพื่อสร้างย่านที่มีชีวิตชีวา ส่งเสริมการเดินเท้าและความหลากหลายของกิจกรรม
  • Preserves urban centers เก็บรักษาย่านเดิมหรืออาคารดั้งเดิมที่ทรงคุณค่าในพื้นที่ โดยใช้การซ่อมแซมบูรณะ หรือการสร้างใหม่ภายใต้โครงสร้างของเมืองเดิมเพื่อใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ เป็นการจำกัดเขตการเติบโตของเมืองไม่ให้กระจายออกนอกเขตเมือง
  • Vary transportation options สร้างทางเลือกของการสัญจร โดยมุ่งส่งเสริมการเดินเท้า การใช้จักรยาน และการใช้ขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปัญหาจราจร รักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้ผู้คนในเมืองมีกิจกรรม
  • Build vibrant public spaces สร้างพื้นที่สาธารณะที่น่าใช้งาน เพื่อให้ผู้คนมีพื้นที่พักผ่อนและเพิ่มโอกาสในการพบปะปฏิสัมพันธ์ ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในสังคม
  • Create a neighborhood identity สร้างSense of Placeหรืออัตลักษณ์ของพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนมีความแตกต่าง น่าสนใจ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชน
  • Protect environmental resources รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติ ควบคุมการพัฒนาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ป้องกันแหล่งน้ำจากการเกิดมลพิษ ป้องกันการเกิดมลพิษทางอากาศ และรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่
  • Conserve landscapes อนุรักษ์ลักษณะภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ เพื่อคงความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมพื้นถิ่น
  • Design matters การออกแบบที่เหมาะสมเป็นพื้นฐานสำคัญของชุมชนน่าอยู่ที่ประสบความสำเร็จ

PM-2.5

ในประเทศไทยเอง สมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย ได้กล่าวถึง “เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่” ในการประชุมเรื่อง เมืองน่าอยู่และการประหยัดพลังงาน (Livable City and Energy Saving) พ.ศ.2547 ว่าหมายถึง

“ชุมชนที่อยู่อาศัยทั้งในเขตเมืองและชนบทที่มีสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมที่เอื้ออาทรมีชุมชนที่เข้มแข็งมีความสะดวกสบายปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีระบบเศรษฐกิจดีมั่นคงมีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองและชุมชน”

นอกจากนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้จัดโครงการประกวดเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันก็กำลังพัฒนาให้กลายมาเป็น “กรุงเทพเมืองน่าอยู่” ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติในอนาคตอันใกล้นี้

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก medium

ททท. ท่องเที่ยวรับกระแสรักษ์โลก (Responsible Tourism)

Previous article

แบตเตอรี่ลิเธียม ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่

Next article

You may also like

More in Life